![](https://noraphat.dev/wp-content/uploads/2024/12/image-9.png)
ผมขอมาเล่าถึง Humata AI และ ChatPDF ที่เคยเป็น Tools ที่ผมใช้งานมาก่อนหน้า โดย Tools เหล่านี้ได้ช่วยให้ผมจัดการกับข้อมูลในไฟล์ PDF และเอกสารได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อผมต้องการวิเคราะห์เนื้อหา แปลภาษา สรุป หรือหาคำตอบในเอกสารที่ยาวเหยียด โดยเฉพาะใน Humata AI ที่เพียงโยนไฟล์ไป 2 ไฟล์ แล้วให้มันช่วยสรุป ไปจนถึงหาคำตอบจากทั้ง 2 ไฟล์นั้น หรือมีสิ่งใดที่ไม่เขียนไปในทิศทางเดียวกัน ?! ตัวมันก็สามารถรู้ได้ (สายงานวิจัย หรือต้องอ่าน Paper น่าจะถูกใจ Tools นี้)
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ผมพบว่า ChatGPT Projects ได้พัฒนาไปอีกขั้น และสามารถเข้ามาทดแทน Tools เหล่านั้นได้ในระดับที่ผมพอใจ (เริ่มรู้สึกถึงความคุ้มค่าที่จ่ายไปให้กับ ChatGPT Plus เลย) เลยอยากมาเขียนแนะนำให้ทุกคนรู้จักกันครับ
Humata AI และ ChatPDF: ผู้ช่วยคนสำคัญในอดีต
ก่อนหน้าที่ผมจะรู้จัก ChatGPT Projects ผมพึ่งพา Humata AI และ ChatPDF อย่างมาก เพราะมันช่วยให้:
- ค้นหาข้อมูลในไฟล์ PDF ได้อย่างรวดเร็ว: ไม่ต้องเลื่อนหาข้อความด้วยตัวเอง เพียงอัปโหลดไฟล์และถามคำถาม
- สรุปข้อมูลสำคัญในเอกสาร: ไม่ว่าจะเป็นรายงานยาวๆ หรือเอกสารงานวิจัย ทั้งสอง Tools สามารถสรุปใจความสำคัญได้อย่างรวดเร็ว
- ตอบคำถามเฉพาะเจาะจง: เมื่อผมต้องการข้อมูลเฉพาะ เช่น ข้อมูลตัวเลข หรือรายละเอียดในบทความ
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่ผมเจอคือ
- Humata AI
- ยังไม่เก่งกับภาษาไทย (ในตอนนี้) จากการที่ผมใช้งาน ผมมักถามหรือให้สรุปออกมาเป็นภาษาไทยก่อน เพื่อความง่ายในความเข้าใจ ซึ่งในส่วนนี้ที่ Humata AI ทำงานได้ยังไม่ดี จากการที่ตอบออกมา ก็ตอบสั้นเกินไป
- Mode ในการตอบมี 3 แบบ :
- 1.Grounded : ตอบเฉพาะข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์ ถ้าเราถามไม่ตรงกับข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์นั้น คำตอบจะตอบประมาณว่า “คำถามของคุณไม่ถูกต้อง”
- 2.Balanced : ตอบคำถาม 50% จากที่มีอยู่ในไฟล์ และดึงเอาจากความรู้ในฐานข้อมูลจาก Model ที่ตัวเองใช้อยู่อีก 50% ซึ่งตรงนี้เมื่อผมถามคำถาม ยังเหมือนเอาข้อมูลที่อยู่ในไฟล์มาตอบ แต่จู่ๆ บางครั้งก็เหมือนออกนอกเส้นทางไปเอาจากใน Internet มาตอบเลย ซึ่งที่เอาจากใน Internet มาตอบนั้น อาจมากเกิน 70-80% ด้วย ซึ่งเมื่อเริ่มใช้ไป ผมชักจะมีความรู้สึกแปลกๆ อยู่หลายครั้ง ช่วงนั้นที่คิด ว่าน้องอาจจะไม่เก่งกับไฟล์ใหญ่ๆระดับ 500-600 หน้า แต่น้องอาจจะเก่งกับงานวิจัยที่เป็น Paper ขนาดไฟล์เล็กๆมากกว่า
- 3.Createive : ตอบแบบไม่อิงไฟล์ : Mode นี้ในความคิดของผม ผมรู้สึกว่า ผมถาม ChatGPT หรือ Claude เอาดีกว่า
![](https://noraphat.dev/wp-content/uploads/2024/12/image-7-1024x473.png)
- ChatPDF
- ข้อจำกัดเดียวเลยคือน่าจะเป็นเรื่อง Format File ที่รองรับแต่ PDF
![](https://noraphat.dev/wp-content/uploads/2024/12/Screenshot-2024-12-31-195720-1024x540.png)
ChatGPT Projects: ผู้ช่วยที่ทำได้ทุกอย่างในตัวเดียว
จากที่ไม่กี่วันก่อน ที่ทาง ChatGPT เปิดตัว ChatGPT Projects ออกมาเพื่อช่วยให้เราสามารถจัดกลุ่มไฟล์และแชทได้ง่ายขึ้นนั้น เมื่อผมเริ่มใช้งาน ChatGPT Projects ผมก็รู้สึกประหลาดใจมากที่มันสามารถทำสิ่งที่ Humata AI และ ChatPDF เคยทำได้หมด ไม่ว่าจะเป็น
1. การอ่านและวิเคราะห์ไฟล์ PDF
เพียงแค่ผมอัปโหลดไฟล์ PDF ให้ ChatGPT Projects ผมสามารถ:
- ค้นหาข้อมูลเฉพาะเจาะจง ในเอกสารยาวๆ ได้โดยตรง เช่น ข้อมูลตัวเลข หรือข้อความที่เกี่ยวข้อง
- สรุปข้อมูลสำคัญ ภายในไม่กี่วินาที โดยไม่ต้องเลื่อนอ่านเอง
2. การทำงานข้ามฟอร์แมต
อันนี้ต่างจาก ChatPDF ที่โฟกัสเฉพาะไฟล์ PDF แต่ ChatGPT Projects ช่วยให้ผมจัดการข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น:
- ไฟล์ Excel
- เอกสาร Word
- และแม้กระทั่งข้อมูลที่ต้องการการวิเคราะห์เพิ่มเติม
3. การเชื่อมโยงข้อมูล
ChatGPT Projects ไม่เพียงแค่ดึงข้อมูลจากไฟล์ PDF แต่ยังสามารถเชื่อมโยงกับคำถามอื่นๆ ที่ผมถาม ช่วยให้ผมวิเคราะห์เนื้อหาในบริบทที่กว้างขึ้น
4. ความสามารถที่ครอบคลุม
- การเขียนรายงาน: ผมสามารถให้ ChatGPT Projects สร้างรายงานจากข้อมูลในไฟล์ PDF ได้ทันที
- การวิเคราะห์เชิงลึก: นอกจากการสรุปข้อมูลแล้ว ผมยังสามารถให้มันวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในข้อมูล หรือหาประเด็นสำคัญที่อาจมองข้าม
![](https://noraphat.dev/wp-content/uploads/2024/12/image-10.png)
ความดีใจที่ได้พบ ChatGPT Projects
เมื่อผมเริ่มใช้งาน ChatGPT Projects แม้ว่า Tools ตัวนี้ อาจไม่มีหน้า UI ที่สวยงาม หรือคอยบอกว่าคำตอบที่ตอบผมมานั้น อยู่ที่บรรทัดไหนของเอกสาร แต่ผมก็รู้สึกว่า แค่นี้ก็ดีพอสำหรับผมแล้ว:
ChatGPT Projects เหมาะกับใคร?
นักเรียน , นักการศึกษา , ครู , พนักงาน , พนักงาน IT , นักวิจัย ที่ต้องการให้ AI ช่วยย่อยข้อมูล สรุป เพื่อประหยัดเวลากับเอกสารหรือไฟล์ หรือเมื่อเวลาต้องการถามคำถามอะไรบางอย่างจากไฟล์ที่เกี่ยวข้องตามที่เรา Upload ขึ้นไปก็สามารถทำได้
ในที่นี้อาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถมองเห็นว่า คำตอบที่ได้มา อยู่ที่ส่วนไหนของไฟล์ เหมือนที่ Humata AI หรือ ChatPDF ทำ
-ถ้าคุณต้องการเรียนรู้อะไรไวๆ ต้องการสรุปอะไรบางอย่างเร็วๆ ไม่ต้องการนำไปอ้างอิง Tools นี้เหมาะกับคุณ
-ถ้าคุณคุณจำเป็นต้องรู้ว่าคำตอบที่คุณถามไปนั้น อยู่ที่บรรทัดไหน อยู่หน้าที่เท่าไหร่ เพื่อใช้ในการอ้างอิงต่อ ผมแนะนำให้ใช้ Humata AI หรือ ChatPDF จะดีกว่า
สุดท้าย หากคุณยังไม่ได้ลองใช้ ChatGPT Projects ผมขอแนะนำให้คุณลองเปิดโอกาสให้ตัวเองได้สัมผัสกับความสามารถของ AI ตัวนี้ มันไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ช่วย แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณทำงานสะดวกขึ้น ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในสิ่งที่คุณทำ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน ครู นักวิจัย หรือพนักงานที่จำเป็นต้องเข้าถึงแหล่งข้อมูลจากไฟล์เอกสารจำนวนมาก ลองใช้ ChatGPT Projects แล้วคุณอาจพบว่ามันเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยกระดับทั้งการทำงานและการเรียนรู้ของคุณให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมครับ
ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ครับ….
หมายเหตุ : ChatGPT Projects อาจนำไปประยุกต์ได้หลายอย่าง สิ่งที่ผมนำเสนอเป็นเพียงสิ่งที่ผมเจอจากประสบการณ์ของผมเอง และผมคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์กับคนบางกลุ่ม เลยเป็นที่มาให้มาเขียนบทความนี้ ถ้ามีอะไรผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ