CategoriesAI Tools for Everyone

เปลี่ยน 3 วันเป็น 10 นาที! ใช้ ChatGPT Projects สรุปข้อมูลไว ประหยัดเวลา

คุณเคยต้องอ่านเอกสารหรือหนังสือหนาๆ แล้วรู้สึกว่าไม่มีเวลาใช่ไหม? วิดีโอนี้จะแนะนำ ChatGPT Projects ผู้ช่วย AI ที่ช่วยสรุปข้อมูลจากไฟล์ PDF และเอกสารอื่นๆ ได้ในไม่กี่นาที ประหยัดเวลาจาก 3 วันเหลือเพียง 10 นาที! เหมาะสำหรับนักเรียน ครู นักวิจัย นักกฏหมาย หรือใครก็ตามที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มาลองกันเลยครับ!

-อินจนต้องเอามาทำเป็นวิดีโอ

-เริ่มต้นปี ด้วยการเริ่มทำช่องของตัวเอง หวังว่าปีนี้จะส่งออกสิ่งที่เรารู้ออกไปได้บ้างนะ

-ภาพแทรกต้นวิดีโอ ให้ Sora ai ทำ

-script ให้ chat gpt ทำ

-ท่านั่งไม่สุภาพต้องขออภัย เพราะไม่คิดว่า scene ที่เลือกจะมีหน้าตัวเองอยู่ สุดท้ายพอมาเห็นผลลัพธ์ เลยปล่อยเลยตามเลย (มีอัดก่อนหน้าไปแล้ว 1 รอบ วิดีโอนี้เป็นรอบที่ 2)

-อย่างน้อยถือว่าเป็นการทดลอง วันนึงตัวเราในอนาคตมาเห็นจะได้รู้ว่าจากจุดนี้มันพาเราไปที่ไหน

-เป็นปีที่อยากลองอะไรหลายๆอย่างไปหมดเลย

CategoriesAI Tools for EveryoneToday..what i learn

เปลี่ยนวิถีการทำงานด้วย ChatGPT Projects: ผู้ช่วย AI ที่ครบจบในตัวเดียว

ผมขอมาเล่าถึง Humata AI และ ChatPDF ที่เคยเป็น Tools ที่ผมใช้งานมาก่อนหน้า โดย Tools เหล่านี้ได้ช่วยให้ผมจัดการกับข้อมูลในไฟล์ PDF และเอกสารได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อผมต้องการวิเคราะห์เนื้อหา แปลภาษา สรุป หรือหาคำตอบในเอกสารที่ยาวเหยียด โดยเฉพาะใน Humata AI ที่เพียงโยนไฟล์ไป 2 ไฟล์ แล้วให้มันช่วยสรุป ไปจนถึงหาคำตอบจากทั้ง 2 ไฟล์นั้น หรือมีสิ่งใดที่ไม่เขียนไปในทิศทางเดียวกัน ?! ตัวมันก็สามารถรู้ได้ (สายงานวิจัย หรือต้องอ่าน Paper น่าจะถูกใจ Tools นี้)

แต่เมื่อไม่นานมานี้ ผมพบว่า ChatGPT Projects ได้พัฒนาไปอีกขั้น และสามารถเข้ามาทดแทน Tools เหล่านั้นได้ในระดับที่ผมพอใจ (เริ่มรู้สึกถึงความคุ้มค่าที่จ่ายไปให้กับ ChatGPT Plus เลย) เลยอยากมาเขียนแนะนำให้ทุกคนรู้จักกันครับ


Humata AI และ ChatPDF: ผู้ช่วยคนสำคัญในอดีต

ก่อนหน้าที่ผมจะรู้จัก ChatGPT Projects ผมพึ่งพา Humata AI และ ChatPDF อย่างมาก เพราะมันช่วยให้:

  • ค้นหาข้อมูลในไฟล์ PDF ได้อย่างรวดเร็ว: ไม่ต้องเลื่อนหาข้อความด้วยตัวเอง เพียงอัปโหลดไฟล์และถามคำถาม
  • สรุปข้อมูลสำคัญในเอกสาร: ไม่ว่าจะเป็นรายงานยาวๆ หรือเอกสารงานวิจัย ทั้งสอง Tools สามารถสรุปใจความสำคัญได้อย่างรวดเร็ว
  • ตอบคำถามเฉพาะเจาะจง: เมื่อผมต้องการข้อมูลเฉพาะ เช่น ข้อมูลตัวเลข หรือรายละเอียดในบทความ

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่ผมเจอคือ

  • Humata AI
    • ยังไม่เก่งกับภาษาไทย (ในตอนนี้) จากการที่ผมใช้งาน ผมมักถามหรือให้สรุปออกมาเป็นภาษาไทยก่อน เพื่อความง่ายในความเข้าใจ ซึ่งในส่วนนี้ที่ Humata AI ทำงานได้ยังไม่ดี จากการที่ตอบออกมา ก็ตอบสั้นเกินไป
    • Mode ในการตอบมี 3 แบบ :
      • 1.Grounded : ตอบเฉพาะข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์ ถ้าเราถามไม่ตรงกับข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์นั้น คำตอบจะตอบประมาณว่า “คำถามของคุณไม่ถูกต้อง”
      • 2.Balanced : ตอบคำถาม 50% จากที่มีอยู่ในไฟล์ และดึงเอาจากความรู้ในฐานข้อมูลจาก Model ที่ตัวเองใช้อยู่อีก 50% ซึ่งตรงนี้เมื่อผมถามคำถาม ยังเหมือนเอาข้อมูลที่อยู่ในไฟล์มาตอบ แต่จู่ๆ บางครั้งก็เหมือนออกนอกเส้นทางไปเอาจากใน Internet มาตอบเลย ซึ่งที่เอาจากใน Internet มาตอบนั้น อาจมากเกิน 70-80% ด้วย ซึ่งเมื่อเริ่มใช้ไป ผมชักจะมีความรู้สึกแปลกๆ อยู่หลายครั้ง ช่วงนั้นที่คิด ว่าน้องอาจจะไม่เก่งกับไฟล์ใหญ่ๆระดับ 500-600 หน้า แต่น้องอาจจะเก่งกับงานวิจัยที่เป็น Paper ขนาดไฟล์เล็กๆมากกว่า
      • 3.Createive : ตอบแบบไม่อิงไฟล์ : Mode นี้ในความคิดของผม ผมรู้สึกว่า ผมถาม ChatGPT หรือ Claude เอาดีกว่า
  • ChatPDF
    • ข้อจำกัดเดียวเลยคือน่าจะเป็นเรื่อง Format File ที่รองรับแต่ PDF

ChatGPT Projects: ผู้ช่วยที่ทำได้ทุกอย่างในตัวเดียว

จากที่ไม่กี่วันก่อน ที่ทาง ChatGPT เปิดตัว ChatGPT Projects ออกมาเพื่อช่วยให้เราสามารถจัดกลุ่มไฟล์และแชทได้ง่ายขึ้นนั้น เมื่อผมเริ่มใช้งาน ChatGPT Projects ผมก็รู้สึกประหลาดใจมากที่มันสามารถทำสิ่งที่ Humata AI และ ChatPDF เคยทำได้หมด ไม่ว่าจะเป็น

1. การอ่านและวิเคราะห์ไฟล์ PDF

เพียงแค่ผมอัปโหลดไฟล์ PDF ให้ ChatGPT Projects ผมสามารถ:

  • ค้นหาข้อมูลเฉพาะเจาะจง ในเอกสารยาวๆ ได้โดยตรง เช่น ข้อมูลตัวเลข หรือข้อความที่เกี่ยวข้อง
  • สรุปข้อมูลสำคัญ ภายในไม่กี่วินาที โดยไม่ต้องเลื่อนอ่านเอง

2. การทำงานข้ามฟอร์แมต

อันนี้ต่างจาก ChatPDF ที่โฟกัสเฉพาะไฟล์ PDF แต่ ChatGPT Projects ช่วยให้ผมจัดการข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น:

  • ไฟล์ Excel
  • เอกสาร Word
  • และแม้กระทั่งข้อมูลที่ต้องการการวิเคราะห์เพิ่มเติม

3. การเชื่อมโยงข้อมูล

ChatGPT Projects ไม่เพียงแค่ดึงข้อมูลจากไฟล์ PDF แต่ยังสามารถเชื่อมโยงกับคำถามอื่นๆ ที่ผมถาม ช่วยให้ผมวิเคราะห์เนื้อหาในบริบทที่กว้างขึ้น

4. ความสามารถที่ครอบคลุม

  • การเขียนรายงาน: ผมสามารถให้ ChatGPT Projects สร้างรายงานจากข้อมูลในไฟล์ PDF ได้ทันที
  • การวิเคราะห์เชิงลึก: นอกจากการสรุปข้อมูลแล้ว ผมยังสามารถให้มันวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในข้อมูล หรือหาประเด็นสำคัญที่อาจมองข้าม

ความดีใจที่ได้พบ ChatGPT Projects

เมื่อผมเริ่มใช้งาน ChatGPT Projects แม้ว่า Tools ตัวนี้ อาจไม่มีหน้า UI ที่สวยงาม หรือคอยบอกว่าคำตอบที่ตอบผมมานั้น อยู่ที่บรรทัดไหนของเอกสาร แต่ผมก็รู้สึกว่า แค่นี้ก็ดีพอสำหรับผมแล้ว:

ChatGPT Projects เหมาะกับใคร?

นักเรียน , นักการศึกษา , ครู , พนักงาน , พนักงาน IT , นักวิจัย ที่ต้องการให้ AI ช่วยย่อยข้อมูล สรุป เพื่อประหยัดเวลากับเอกสารหรือไฟล์ หรือเมื่อเวลาต้องการถามคำถามอะไรบางอย่างจากไฟล์ที่เกี่ยวข้องตามที่เรา Upload ขึ้นไปก็สามารถทำได้

ในที่นี้อาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถมองเห็นว่า คำตอบที่ได้มา อยู่ที่ส่วนไหนของไฟล์ เหมือนที่ Humata AI หรือ ChatPDF ทำ

-ถ้าคุณต้องการเรียนรู้อะไรไวๆ ต้องการสรุปอะไรบางอย่างเร็วๆ ไม่ต้องการนำไปอ้างอิง Tools นี้เหมาะกับคุณ
-ถ้าคุณคุณจำเป็นต้องรู้ว่าคำตอบที่คุณถามไปนั้น อยู่ที่บรรทัดไหน อยู่หน้าที่เท่าไหร่ เพื่อใช้ในการอ้างอิงต่อ ผมแนะนำให้ใช้ Humata AI หรือ ChatPDF จะดีกว่า

สุดท้าย หากคุณยังไม่ได้ลองใช้ ChatGPT Projects ผมขอแนะนำให้คุณลองเปิดโอกาสให้ตัวเองได้สัมผัสกับความสามารถของ AI ตัวนี้ มันไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ช่วย แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณทำงานสะดวกขึ้น ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในสิ่งที่คุณทำ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน ครู นักวิจัย หรือพนักงานที่จำเป็นต้องเข้าถึงแหล่งข้อมูลจากไฟล์เอกสารจำนวนมาก ลองใช้ ChatGPT Projects แล้วคุณอาจพบว่ามันเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยกระดับทั้งการทำงานและการเรียนรู้ของคุณให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมครับ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ครับ….

หมายเหตุ : ChatGPT Projects อาจนำไปประยุกต์ได้หลายอย่าง สิ่งที่ผมนำเสนอเป็นเพียงสิ่งที่ผมเจอจากประสบการณ์ของผมเอง และผมคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์กับคนบางกลุ่ม เลยเป็นที่มาให้มาเขียนบทความนี้ ถ้ามีอะไรผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

CategoriesAI Tools for EveryoneLife Notes

ตั้งเป้าหมายต้อนรับปีใหม่: ใช้ AI ช่วยพาคุณไปให้ถึงฝัน

อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันปีใหม่ หลายคนคงเริ่มคิดถึง เป้าหมาย” ที่อยากทำให้สำเร็จในปีหน้านี้ใช่ไหมครับ? หลายครั้งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ดีมาก แต่ผ่านไปแค่ไม่กี่สัปดาห์เรากลับหลงทาง ไม่ทำต่อ หรือไม่รู้ว่าควรจะเริ่มยังไง (ค่าสมัครสมาชิก Fitness ยังผ่อน 6 เดือนไม่หมดเลย )

ระหว่างนี้ลองมาใช้ AI เป็นเพื่อน คู่คิด” ในการตั้งเป้าหมายและช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายกันครับ เพราะ AI ไม่ได้มีไว้แค่ช่วยหาข้อมูล แต่มันยังช่วย กระตุ้นความคิด วางแผน และสร้างแรงจูงใจ ได้ด้วย


1. ตั้งเป้าหมายส่วนตัวด้วย AI: Prompt พร้อมปรับให้เหมาะกับคุณ

ก่อนอื่น เราต้องเริ่มจากการตั้งคำถามที่ช่วยกระตุ้นความคิด เพื่อค้นหาเป้าหมายที่เหมาะกับตัวเรามากที่สุด ลองใช้ Prompt เหล่านี้กับ AI เช่น ChatGPT เพื่อช่วยกำหนดทิศทาง:

Prompt ตัวอย่าง

  1. ช่วยแนะนำเป้าหมายในปีใหม่ที่เหมาะกับคนที่สนใจพัฒนาตนเอง แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน”
  2. ถ้าผมต้องการตั้งเป้าหมายเรื่องสุขภาพในปีนี้ คุณช่วยแนะนำเป้าหมายที่เป็นไปได้และน่าสนใจให้หน่อย”
  3. ช่วยสร้างรายการเป้าหมายในปี 2024 ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ พร้อมตัวอย่างการเริ่มต้น”

ตัวอย่างผลลัพธ์จาก AI

  • สำหรับสุขภาพ: “เริ่มต้นออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ด้วยโยคะหรือเดินเร็ว”
  • การพัฒนาตนเอง: “อ่านหนังสือเดือนละ 1 เล่มในหัวข้อที่คุณอยากเข้าใจ เช่น การเงิน, จิตวิทยา หรือทักษะการทำงาน”
  • การเรียนรู้: “เรียนรู้ภาษาใหม่ผ่านแอป เช่น Duolingo วันละ 15 นาที”

ตัวอย่างที่คนมักคิดตั้งเป้าปีใหม่กัน โดยส่วนมากมักจะมีหัวข้อดังนี้ครับ

สุขภาพและออกกำลังกาย
“ฉันอยากสุขภาพดีขึ้น ช่วยตั้งเป้าหมายที่ง่ายต่อการทำ เช่น เพิ่มการออกกำลังกายเป็นประจำหรือปรับอาหารการกินให้ดีขึ้น”

การเงินและการออม
“ฉันอยากเก็บเงินให้ได้มากขึ้นในปีหน้า ช่วยกำหนดเป้าหมายการออมที่เหมาะสมสำหรับคนเงินเดือน xx,xxx พร้อมวิธีลดรายจ่าย”

การพัฒนาตัวเอง
“อยากเรียนรู้และพัฒนาตนเองในปีหน้า แนะนำเป้าหมายเช่น อ่านหนังสือ, เรียนทักษะใหม่ หรือพัฒนาด้านการทำงาน”

ความสัมพันธ์
“ช่วยกำหนดเป้าหมายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น ใช้เวลากับครอบครัว หรือเรียนรู้การสื่อสารที่ดีขึ้น”

ความสุขและสมดุลชีวิต
“ฉันอยากชีวิตสงบและสมดุลมากขึ้นในปีหน้า ช่วยตั้งเป้าหมายการจัดเวลาให้มีทั้งงานและพักผ่อน”

สุขภาพจิต
“ช่วยแนะนำเป้าหมายเล็กๆ ในการดูแลจิตใจ เช่น ฝึกสมาธิ, เขียนบันทึก หรือหยุดคิดลบ”

การงานและอาชีพ
“ฉันอยากเพิ่มความก้าวหน้าในอาชีพปีหน้า ควรตั้งเป้าหมายอะไรบ้าง เช่น การพัฒนาทักษะหรือการเริ่มโปรเจกต์ใหม่?”

งานอดิเรก/การผ่อนคลาย
“ปีนี้ฉันอยากมีเวลาทำสิ่งที่รักมากขึ้น เช่น งานอดิเรกหรือกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ ช่วยแนะนำเป้าหมายที่ชัดเจน”

จุดสำคัญคือปรับเป้าหมายให้เหมาะกับตัวเองที่สุด เช่น ถ้าคุณไม่ชอบการอ่าน อาจเปลี่ยนเป้าหมายเป็นฟังหนังสือเสียงแทน


2. ใช้หลัก SMART เพื่อสร้างเป้าหมายที่ชัดเจน

เมื่อเรากำหนดเป้าหมายคร่าวๆ ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำให้มันชัดเจน วัดผลได้ และเป็นไปได้จริง ด้วยหลัก SMART เพื่อช่วยให้เป้าหมายของเรามีโครงสร้างที่แน่นอน และเพิ่มโอกาสในการทำสำเร็จ โดยมีรายละเอียดของ SMART ดังนี้

SMART คืออะไร?

  • S: Specific (เฉพาะเจาะจง)
    เป้าหมายต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ หรือกว้างเกินไป
    • ถามตัวเอง: “เป้าหมายนี้เกี่ยวกับอะไร?”
    • ตัวอย่าง: แทนที่จะบอกว่า “อยากสุขภาพดี” ให้เจาะจงว่า “อยากลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม”
  • M: Measurable (วัดผลได้)
    เป้าหมายต้องสามารถวัดผลได้ เพื่อให้เรารู้ว่าเรากำลังเดินหน้าหรือไม่
    • ถามตัวเอง: “ฉันวัดความสำเร็จได้อย่างไร?”
    • ตัวอย่าง: “ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัมใน 3 เดือน” หมายความว่าเราสามารถชั่งน้ำหนักเพื่อติดตามผลได้
  • A: Achievable (ทำได้จริง)
    เป้าหมายต้องเป็นสิ่งที่เราทำได้ ไม่ไกลเกินความสามารถ
    • ถามตัวเอง: “ถ้าฉันจะทำเรื่องนี้ ฉันสามารถทำได้จริงหรือไม่?”
    • ตัวอย่าง: ถ้าคุณไม่มีเวลาออกกำลังกายทุกวัน อาจปรับเป้าหมายเป็น “ออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์” แทน
  • R: Relevant (เกี่ยวข้องและเหมาะสม)
    เป้าหมายควรสอดคล้องกับสิ่งที่คุณต้องการในชีวิต ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นบอกว่าคุณควรทำ
    • ถามตัวเอง: “เป้าหมายนี้สอดคล้องกับสิ่งที่ฉันต้องการจริงๆ หรือเปล่า?”
    • ตัวอย่าง: ถ้าคุณไม่สนใจการวิ่ง แต่ชอบโยคะ การตั้งเป้าหมายเรื่องการวิ่งอาจไม่เหมาะกับคุณ
  • T: Time-bound (กำหนดเวลา)
    เป้าหมายต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้เราเริ่มต้นและติดตามความคืบหน้า
    • ถามตัวเอง: “ฉันจะทำสิ่งนี้ให้สำเร็จเมื่อไหร่?”
    • ตัวอย่าง: “ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัมภายใน 3 เดือน” ทำให้คุณรู้ว่าเมื่อครบ 3 เดือน คุณควรตรวจสอบผล

ตัวอย่างการปรับเป้าหมายด้วย SMART

เป้าหมายเริ่มต้น: “อยากสุขภาพดี”

ปรับด้วย SMART:

S (เฉพาะเจาะจง): ฉันจะลดน้ำหนัก

M (วัดผลได้): ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม

A (ทำได้จริง): ทำได้ด้วยการออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และปรับการกินอาหาร

R (เกี่ยวข้อง): เพราะฉันต้องการมีพลังงานมากขึ้นสำหรับงานและครอบครัว

T (กำหนดเวลา): ภายใน 3 เดือน


3. ทำต่อเนื่อง 21 วัน เพื่อสร้างนิสัย และต่อยอดในระยะยาว

มีงานวิจัยบอกว่า การทำสิ่งใดต่อเนื่อง 21 วัน” ช่วยให้สมองเริ่มสร้างนิสัยใหม่ขึ้นมา แต่การบรรลุเป้าหมายใหญ่ต้องอาศัยการแบ่งเป้าหมายออกเป็นช่วงสั้นๆ

วิธีทำให้เป้าหมายสำเร็จทีละขั้น

  1. ช่วง 21 วันแรก (ระยะสั้น):
    • โฟกัสที่ “การเริ่มต้น” และสร้างความเคยชิน เช่น เดินวันละ 10 นาที หรือเขียนเป้าหมายในสมุดทุกวัน
  2. ระยะกลาง (3 เดือน):
    • เพิ่มความท้าทาย เช่น เดินให้ได้ 30 นาทีทุกวัน หรือเริ่มเรียนคอร์สออนไลน์แล้วต้องส่งงานให้ครบ
  3. ระยะยาว (6 เดือน):
    • ทบทวนและปรับเป้าหมาย เช่น จากเดินเร็วเป็นวิ่ง หรือจากเรียนรู้ทักษะใหม่เป็นการลงมือทำโปรเจกต์จริง

4. ใช้เครื่องมือ (Tools) ช่วยให้เป้าหมายกลายเป็นจริง

เทคโนโลยีช่วยให้เราจัดการเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ลองใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อช่วยติดตามและกระตุ้นตัวเอง:

สำหรับการวางแผนและติดตามเป้าหมาย

  • Notion: ใช้สำหรับวางเป้าหมายและจดบันทึกความก้าวหน้า
  • Trello: สร้างบอร์ดเป้าหมาย และติดตามความคืบหน้าทีละขั้น
  • Google Keep หรือ Evernote: จดบันทึกสั้นๆ สำหรับไอเดียหรือสิ่งที่ต้องทำ

สำหรับสุขภาพและนิสัย

  • Habitica: แอปติดตามนิสัยที่เปลี่ยนกิจวัตรให้เหมือนเกม สนุกและกระตุ้นตัวเอง
  • MyFitnessPal: ติดตามอาหารและการออกกำลังกาย
  • Strava: สำหรับติดตามการเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน

สำหรับการเรียนรู้

  • Coursera หรือ Skillshare: ค้นหาคอร์สเรียนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของคุณ
  • Duolingo: เรียนภาษาง่ายๆ วันละ 10 นาที

สรุป: ปีนี้ คุณจะไปให้ถึงไหน?

ปีใหม่คือโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นใหม่ แต่การตั้งเป้าหมายให้สำเร็จไม่ได้อยู่ที่ “คำอวยพร” หรือ “แรงบันดาลใจ” เท่านั้น แต่อยู่ที่การลงมือทำอย่างต่อเนื่อง

  1. ใช้ AI ช่วยค้นหาเป้าหมายที่เหมาะกับคุณ
  2. ปรับเป้าหมายด้วยหลัก SMART เพื่อความชัดเจน
  3. แบ่งเป้าหมายออกเป็นช่วงเวลา: 21 วัน, 3 เดือน, และ 6 เดือน
  4. ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ช่วยให้คุณไม่หลุดจากเส้นทาง

เชื่อว่าปีหน้า ชีวิตเราจะไม่เหมือนปีนี้แน่นอน แม้มองไม่เห็นแต่ขอฝันถึงชีวิตที่ดีไปก่อน! 🚀
แล้วคุณล่ะครับ เป้าหมายปีหน้าของคุณที่ตั้งไว้คืออะไร มาเล่าบอกแชร์เป้าหมายกันบ้างนะครับ? 😊

CategoriesAI Tools for EveryoneToday..what i learn

ปลดล็อกพลังของ AI: Prompt เด็ดๆ สำหรับพนักงาน QA ที่ต้องรู้

ผมเชื่อว่าใครที่ทำงานในสาย QA (Quality Assurance) คงจะเข้าใจดีว่าหน้าที่ของเรานั้นสำคัญแค่ไหน การทำให้ซอฟต์แวร์หรือผลิตภัณฑ์ในมือเรามีคุณภาพและใช้งานได้จริงโดยไม่มีปัญหา เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์ การใส่ใจในรายละเอียด รวมไปถึงการวางแผนที่รอบคอบ

แต่รู้ไหมครับว่า AI ก็สามารถเป็นผู้ช่วยที่ดีสำหรับงาน QA ได้เหมือนกัน? ที่สำคัญเลยคือ “การตั้ง Prompt” หรือคำสั่งที่ชัดเจนให้ AI ช่วยจัดการงานต่างๆ ของเราได้รวดเร็วขึ้น ประหยัดเวลา และลดความเจ็บปวดจากงานซ้ำๆ ได้ไม่น้อย

วันนี้ผมเลยอยากมาแบ่งปัน Prompt ที่ผมใช้จริงและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในสาย QA จะมือใหม่หรือทำงานมาแล้วหลายปี ก็ลองเอาไปใช้ดูได้เลยครับ


1. ร่าง Test Case และ Test Plan ง่ายๆ ไม่ต้องปวดหัว

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยร่าง Test Case สำหรับ [ระบุฟีเจอร์ เช่น ระบบสมัครสมาชิก] โดยครอบคลุม Positive และ Negative Test Cases”
    • “จัดโครงสร้าง Test Plan สำหรับระบบ [ระบุซอฟต์แวร์/ระบบ] โดยระบุขอบเขต เครื่องมือที่ใช้ และวิธีการทดสอบ”

👉 เหตุผลที่ต้องใช้:
บอกเลยว่าเวลาผมต้องนั่งไล่เขียน Test Case ทีมักจะกินเวลาไปเยอะมาก Prompt แบบนี้ช่วยให้ AI ช่วยคิดในมุมที่เราอาจพลาดไปรวมถึงเรื่องที่ควรใส่ในแผน เรียกว่าทำให้เราไม่พลาดจุดสำคัญครับ


2. เขียนบั๊กให้ตรงประเด็น ทีม Dev อ่านเข้าใจง่าย

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยเขียน Bug Report สำหรับปัญหา [ระบุปัญหา เช่น แอปโหลดหน้าโปรไฟล์ไม่ได้] โดยให้มีหัวข้อ เช่น Summary, Steps to Reproduce, Expected Result, Actual Result”
    • “เขียนคำอธิบายบั๊กแบบอ่านง่ายสำหรับการส่งต่อให้ Developer”

👉 ประโยชน์ที่ได้รับ:
หลายครั้งการอธิบายปัญหาที่เราพบให้ทีม Dev เข้าใจได้ตรงจุด ไม่เยิ่นเย้อ หรือไม่ตกหล่นเป็นสิ่งสำคัญ Prompt แบบนี้ช่วยให้เราทำงานง่ายและประหยัดเวลาในการเขียนรายงานไปเยอะ


3. ตรวจสอบระบบเชิงลึกแบบเป็นขั้นเป็นตอน

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยสร้าง Checklist สำหรับการตรวจสอบ API”
    • “แนะนำวิธีการทดสอบ Performance ของระบบ โดยระบุเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น JMeter”

👉 ทำไมถึงต้องใช้ Prompt นี้:
เวลาตรวจสอบระบบใหญ่ๆ มันมักจะมีจุดเล็กๆ ที่เราอาจลืมไป Prompt แบบนี้ช่วยให้เรามีรายการตรวจสอบที่ชัดเจน และไม่พลาดจุดสำคัญที่ควรเช็ก


4. Automation Testing – ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มความฉลาด

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยแนะนำโครงสร้างของ Automation Test Scripts สำหรับ [ระบุฟีเจอร์ เช่น ระบบจองตั๋ว]”
    • “แนะนำเครื่องมือ Automate Testing ที่เหมาะสมสำหรับการทดสอบเว็บแอปพลิเคชัน”

👉 ประโยชน์:
งาน QA ไม่ได้หยุดแค่การเทสแบบ Manual นะครับ การ Automate จะช่วยลดเวลาที่เสียไปกับการทดสอบเดิมๆ และ AI จะช่วยให้การเริ่มต้น Automate Test นั้นง่ายกว่าที่เคย


5. ทำเอกสารให้ชัดเจน ทีมรัก QA ก็รัก

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยเขียน Test Summary Report สำหรับระบบ [ระบุระบบ] โดยมีทั้ง Test Cases, จำนวนผ่าน/ไม่ผ่าน และคำแนะนำเพิ่มเติม”
    • “ช่วยสร้าง Quality Checklist ก่อนส่งมอบระบบให้ลูกค้า”

👉 ทำไมถึงควรใช้:
ตอนที่ผมต้องทำรายงานส่งหัวหน้าหรือทีมอื่นๆ Prompt นี้ช่วยสร้างเอกสารอย่างมีระเบียบและดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น ทีมที่อ่านรายงานของเราจะเข้าใจข้อมูลที่สรุปได้ครบถ้วน


6. ตรวจความปลอดภัยให้แน่นหนา ไม่มีช่องโหว่

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “แนะ Test Cases สำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ Login”
    • “ช่วยอธิบายขั้นตอนการทดสอบการโจมตี SQL Injection พร้อมแนวทางป้องกัน”

👉 ทำไมเรื่องนี้สำคัญ:
ทุกวันนี้ความปลอดภัยคือสิ่งที่ถูกจับตามองมาก ถ้าระบบเรามีช่องโหว่ ก็อาจส่งผลเสียมหาศาล Prompt เหล่านี้ช่วยให้เรามั่นใจว่าได้ตรวจสอบในจุดที่สำคัญ


7. วิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำงานร่วมกับทีมแบบมืออาชีพ

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยรวบรวมปัญหาที่ QA มักพบเจอบ่อย พร้อมลำดับความสำคัญของการแก้ไข”
    • “แนะนำวิธีการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่าง QA และ Dev ในการทำงานร่วมกัน”

👉 ทำไมควรลองใช้:
สิ่งสำคัญที่สุดนอกจากงานคือการทำงานเป็นทีม Prompt เหล่านี้จะช่วยให้เราทำความเข้าใจกับปัญหา และเปิดโอกาสให้เราแก้ไขได้อย่างเฉียบขาดร่วมกับทีม


เคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับการตั้ง Prompt:

  1. ใส่ Context ให้ชัดเจน เช่น ระบบที่ใช้งาน สิ่งที่ต้องการ หรือปัญหาที่พบ
  2. ตั้งคำถามแบบเจาะจง เพื่อให้ AI เข้าใจสิ่งที่คุณต้องการอย่างตรงจุด
  3. ทดลองปรับคำสั่ง หากครั้งแรกยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ถูกใจ

สุดท้ายแล้ว อย่ากลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ ดูครับ เพราะการดึงเอาศักยภาพของ AI มาใช้ได้เต็มที่ จะช่วยให้การทำงานในสาย QA ของพวกเรายิ่งง่าย มีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น


สรุปสั้นๆ: AI และ Prompt ดีๆ คือคู่หูมือโปรของ QA ใช้งานได้ง่าย ช่วยประหยัดเวลา และเพิ่มความเฟี้ยวให้กับงานไวขึ้น ใครที่อยู่ในสายนี้ ลองนำไปใช้ปรับให้เข้ากับงานของตัวเอง แล้วบอกผมหน่อยนะครับว่า ใช้แล้วได้ผลยังไง 🙂

CategoriesAI Tools for Everyone

🔥 ใช้ชีวิตให้สมดุลในวัย 39 : AI ผู้ช่วยตัวท็อป เพิ่มเวลาให้ชีวิตง่ายขึ้น

ผมเข้าใจดีครับว่าเมื่ออายุมาถึงเลข 3 ปลายๆ แบบนี้ เราต้องจัดสรรเวลาให้ลงตัว ทั้งเรื่องงาน ครอบครัว และการพัฒนาตัวเอง ไหนจะเรื่องสุขภาพอีก มันไม่ง่ายเลย แต่ถ้ารู้จักใช้ตัวช่วยอย่าง AI ชีวิตคุณจะง่ายขึ้น เหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวที่ทำได้แทบทุกอย่าง

มาดูกันครับว่า AI จะช่วยชีวิตวัย 39 แบบเราได้ยังไงบ้าง!


💼 เรื่องงาน (เพราะเราต้องรอดในตลาดนี้)
ทุกเช้าผมเริ่มต้นด้วย “เฮ้ AI ช่วยผมที…” แล้วต่อด้วยคำสั่งตรงประเด็น เช่น…

  • “ช่วยสรุปประชุม 2 ชั่วโมงให้เหลือ 5 นาที เน้นจับประเด็นสำคัญ”
  • “ช่วยเขียนอีเมลตอบลูกค้าที่เร่งงาน แต่ยังรักษาความสัมพันธ์ที่ดี”
  • “วิเคราะห์รายงานยอดขาย พร้อมไอเดียปรับกลยุทธ์แบบเข้าใจง่าย”

⏱️ ประหยัดเวลา: ลองจินตนาการดูครับว่าคุณไม่ต้องเสียเวลาเขียนอีเมลยาวเหยียดหรือไล่ฟังเทปประชุม ทำให้มีเวลาไปโฟกัสงานใหญ่ๆ ได้มากขึ้น


🏃‍♂️ เรื่องสุขภาพ (เพราะไม่อยากเจ็บป่วยในวัยเริ่มกลางคน)
ในวัยนี้ สุขภาพสำคัญที่สุดครับ แต่เวลาก็เหลือน้อย AI ช่วยจัดระบบให้ดูแลตัวเองได้ง่ายขึ้น:

  • “สร้างตารางออกกำลังกาย 30 นาที สำหรับคนที่นั่งโต๊ะทำงานทั้งวัน”
  • “ช่วยคิดเมนูอาหารคลีน ทำง่าย ไม่ต้องเป็นเชฟ”
  • “ให้คำแนะนำจัดการความเครียดจากงาน แบบไม่ต้องพึ่งกาแฟหรือเหล้า”

🔥 เปลี่ยนกรอบคิด: ถึงจะยุ่ง เราก็ยังหาเวลาให้ตัวเองได้ครับ AI จะช่วยลดความยุ่งยาก เช่น คิดแผนออกกำลังกายให้ตรงเป้าหมาย เมื่อสุขภาพดี ครอบครัวและงานก็จะไปได้ดีแน่นอน


💰 การเงินและการลงทุน (เพราะอนาคตยังอีกยาว)
สำหรับคนที่กำลังวางแผนการเงิน AI จะเป็นเหมือนที่ปรึกษาส่วนตัวที่ไม่คิดค่าคอนซัลต์:

  • “ช่วยวางแผนการเงิน 5 ปี สำหรับคนมีภาระผ่อนบ้านและลูกเล็ก”
  • “วิเคราะห์การลงทุนกับหุ้น หรือ Passive Income ถ้ามีทุนตั้งต้น 5 แสน”
  • “เสนอเทคนิคประหยัดเงินแบบไม่ประหยัดชีวิต”

💡 วางแผนเป็นเรื่องง่าย: AI ทำให้ตัวเลขยากๆ กลายเป็นข้อมูลที่เข้าใจง่าย และช่วยให้คุณเห็นภาพอนาคตทางการเงินที่ชัดเจนมากขึ้น


👨‍👩‍👧‍👦 ครอบครัว (เพราะสำคัญที่สุดในชีวิต)
เมื่อต้องแบ่งเวลากับครอบครัว AI ช่วยเป็น “ผู้จัดการเวลาให้” เช่น:

  • “หาไอเดียกิจกรรมวันหยุดที่ทำได้ทั้งครอบครัว งบไม่เกิน 2,000”
  • “ช่วยวางแผนทริปครอบครัวที่ใช้เวลาเดินทางน้อย แต่ทุกคนสนุก”
  • “แนะนำวิธีพูดคุยกับลูกวัยรุ่นให้เข้าใจกันมากขึ้น”

❤️ สิ่งที่สำคัญ: ทุกวินาทีที่ได้ใช้กับครอบครัวมีค่า AI ลดเวลาในงานหรือเรื่องหนักๆ เพื่อเพิ่มเวลาให้คุณใช้กับคนที่คุณรัก


🎯 พัฒนาตัวเอง (เพราะต้องไม่หยุดอยู่กับที่)
หลายครั้งเราอาจรู้สึกว่าวันๆ หมดไปกับงาน ชีวิตในวัยนี้มีเวลาเรียนน้อยลง แต่ AI ช่วยได้:

  • “ช่วยอธิบายพื้นฐานด้าน Digital Marketing สำหรับมือใหม่”
  • “สรุปหนังสือเล่มดังอย่าง Atomic Habits ให้เข้าใจใน 5 นาที”
  • “เรียนรู้เทรนด์ใหม่ เช่น Blockchain, Crypto, หรือ AI แบบเข้าใจง่าย”

📈 เติบโตต่อไป: AI ช่วยให้คุณตามทันเทรนด์ใหม่ๆ โดยไม่ต้องเสียเวลามาก แค่วันละ 10-15 นาทีก็เพียงพอแล้ว


💪 เทคนิคใช้ AI ให้คุ้มจนเหมือนผู้ช่วยส่วนตัว:

  1. ถามให้ตรงประเด็น: เช่น ไม่ต้องอ้อมค้อม อยากได้อะไรให้บอกไปตรงๆ
  2. ระบุเงื่อนไขชัดเจน: เช่น งบประมาณ เวลา ข้อจำกัด เพื่อให้ AI เข้าใจเป้าหมาย
  3. ขอคำอธิบาย Step by Step: เหมือนเราสั่งงานทีละขั้น
  4. ไม่เข้าใจก็ถามใหม่: AI ไม่เคยเบื่อครับ ลองปรับคำถามจนได้คำตอบที่ใช่

ตัวอย่าง:
“ช่วยวางตารางออกกำลังกายให้ผมมีเวลาเล่นกับลูกทุกเย็น” นี่คือคำถามตรงประเด็นที่ AI จะช่วยออกแบบให้คุณได้อย่างสมดุล


ปล. อย่าลืมนะครับ AI คือเครื่องมือ ไม่ใช่ผู้ตัดสินใจแทนคุณ ชีวิตของคุณ คุณเลือกเองได้เสมอ ใช้มันเพื่อเพิ่มเวลา ทำงานให้ดีขึ้น ใช้เวลาชีวิตให้คุ้มค่าขึ้น แต่บางสิ่งเช่น “การยกเวท” หรือ “หรือการออกไปใช้ชีวิตกับครอบครัว” AI ที่เก่งแค่ไหน ก็ช่วยพวกเราไม่ได้ 😉

สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ หาเวลาออกกำลังกายบ้างนะครับ อย่าเอาแต่พึ่ง AI จนลืมดูแลตัวเอง 👍

#LifeAt39 #AIช่วยชีวิต #WorkLifeBalance #ให้AIช่วยก็ยังเป็นผู้นำชีวิตตัวเอง