CategoriesTech Learning Journey

Skillane : ฝึก JMETER ให้เป็น QA ขั้นเทพ (#JMETER101)

เลือกลงเรียนในหัวข้อนี้เนื่องจาก ทีมที่ตัวเองทำงานอยู่จะมีการทำ Performance Test ให้อยู่ในกระบวนการทำงานด้วย แต่ทีม QA อย่างเช่นข้าพเจ้า ยังไม่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับ Performance Test สัก Tools เลย เลยเป็นที่มาให้ได้มาลงเรียนในหัวข้อนี้

คุณธิติ พิสูจน์ ผู้สอนเป็นวิทยากรคนเดิมจากหัวข้อ “Postman” ล่าสุดที่ผมพึ่งเรียนไป แล้วได้รู้ว่าวิทยากรท่านนี้สอนดีแค่ไหน จึงทำให้ตัดสินใจลงเรียนเลยทันที

“ฝึก JMETER ให้เป็น QA ขั้นเทพ (#JMETER101)” ในหัวข้อนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนตั้งแต่ ฺBasic พื้นฐาน อย่างเช่นการติดตั้งโปรแกรม Jmeter , การเรียกใช้งาน sampler , listener , การแตก thread เรื่อยไปจนถึงระดับ Advane การออกรายงานต่างๆ

ต้องบอกเลยว่าหัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ทำ Labs เยอะมาก (ก ไก่ล้านตัว) และเวลาที่ใช้เรียนก็มากเช่นกัน (6 ชั่วโมง) รวมไปถึงก็ยังสงสัยอยู่เรื่อยไป ว่าทีมเราจะเอาทุก Feature ที่เราเรียนในที่นี้ ไปทำหมดเลยหรือไม่ ฮ่าๆๆๆๆ

ดั่งคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “รู้ไว้ใช้ว่า ใส่บ่าแบกหาม” แม้ว่าในตอนนี้เรื่องที่เรารู้ไว้มันอาจจะเยอะ หรือมันอาจจะยังไม่ได้ใช้ แต่ในวันหนึ่งที่เราจำเป็นใช้งานมันขึ้นมา เมื่อถึงเวลานั้นเราจะได้สามารถแนะนำใครต่อใครได้ว่า Tools นี้มันดีและมีประโยชน์ยังไง

ผมอยากจะเขียนลงไปนะ ว่า Tools ตัวนี้มันทำอะไรได้บ้าง แต่หากเขียนลงไปจริงๆ ผมคงเขียนได้ไม่หมด เอาเป็นว่า มันทำสิ่งหลักๆ ได้ตามนี้ “ยิง , เทส , ดูกราฟ , tune , ดู Log , ออกรายงาน”

ผมคงไม่สามารถเขียนอะไรเกี่ยวกับหัวข้อนี้ไปได้มากกว่านี้ แต่เชื่อเลยจริงๆ หากเรานั่งเรียนและทำตามไปตั้งแต่ต้น มันจะทำให้ตัวเราหลังเรียนจบ กลายเป็น QA ขั้นเทพที่ใช้ Tools ที่ทรงพลังอย่างนี้เป็นแน่นอน


คุยกับตัวเองหลังเรียนจบแล้วรู้สึกว่า Jmeter มันเป็น Tools การทดสอบ AP + Performance Test ที่ทรงพลังมากเลยนะ แต่หากจะให้เอาความสามารถเรื่อง API Test ที่ Jmter ทำได้แล้วให้ไปเทส API บน Jmeter ในข้อนี้ยังไงๆก็ขอเลือกใช้งาน Postman ดีกว่า !! (o____O”)

แอบกลัวลึกๆอยู่เสมอตลอดการเรียนหัวข้อนี้ ว่าหากเราเรียนไปแล้วเราไม่ได้ใช้ พอเริ่มนานๆไป เราจะลืมมันหรือเปล่า ฮ่าๆๆ

และก็แอบสงสัยในฐานะคนทำ Server ด้วยเช่นเดียวกัน ว่าหากมี Request ที่ต้นทางมาจากแหล่งเดียวกัน ส่ง Request มาเป็นหมื่น เป็นร้อย เป็นพัน ในช่วงเวลาเดียวกัน มันจะสามารถเป็นตัวแทนของการใช้งานจริง ที่มี Request ที่ต้นทางมาจากแหล่งที่ต่างกันได้หรือไม่ ?!

The important thing is not to stop questioning. Curiosity has its own reason for existence.

–Albert Einstei.