CategoriesPersonal Playlist

WE PRAY – Coldplay

เพลง “We Pray” ของ Coldplay เปิดประสบการณ์ที่ผมอยากแบ่งปันให้ทุกคนได้ฟังกัน แม้ว่าตัวผมเองจะเป็นคนไทยที่เติบโตมากับศาสนาพุทธ แต่เพลงนี้…ผมกลับประทับใจเป็นอย่างมาก


ความประทับใจแรก: เนื้อเพลงที่ลึกซึ้งและเปี่ยมด้วยความหมาย

สิ่งที่ทำให้ผมสะดุดใจเลยคือ เนื้อเพลงที่พูดถึงการ “อธิษฐาน” หรือการขอพร ไม่ว่าจะเป็นการขอให้ตัวเองเข้มแข็ง ขอให้คนรอบตัวพบความสุข ขอให้ตัวเราเองไม่ตัดสินใคร หรือแม้กระทั่งการขออภัยในบาปที่ตัว (ผม) เองทำ

I pray that I don’t give up, pray that I do my best
Pray that I can lift up, pray my brother is blessed
Prayin’ for enough, pray Virgilio wins
Pray I judge nobody and forgive me my sins

I pray we make it, pray my friend will pull through
Pray as I take it unto others, I do
Prayin’ on your love, we pray with every breath
Though I’m in the valley of the shadow of death


พลังที่ได้รับจากเพลงนี้

หลังจากฟังเพลง “We Pray” จบลง ผมรู้สึกเหมือนว่าผมแผ่เมตตาให้โลกทั้งใบ (555) + มันเหมือนกับการได้ชาร์จพลังผ่านการฟังเพลงและคิดตาม ?!

“We Pray” ไม่ได้เป็นแค่เพลงที่ฟังผ่านๆ แต่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมกลับมามองตัวเองด้วยสายตาที่เมตตา และมองโลกในแง่ที่ดีขึ้นด้วยพลังที่ได้จากเพลงนี้


เนื้อเพลง

Whoa

Oh

And so we pray

Ooh

I pray that I don’t give up, pray that I do my best
Pray that I can lift up, pray my brother is blessed
Prayin’ for enough, pray Virgilio wins
Pray I judge nobody and forgive me my sins

I pray we make it, pray my friend will pull through
Pray as I take it unto others, I do
Prayin’ on your love, we pray with every breath
Though I’m in the valley of the shadow of death

And so we pray for someone to come and show me the way
And so we pray for some shelter and some records to play
And so we pray, we’ll be singin’ “Baraye”
Pray that we make it to the end of the day

And so we pray, I know somewhere that Heaven is waitin’
And so we pray, I know somewhere there’s something amazin’
And so we pray, I know somewhere we’ll feel no pain
Until we make it to the end of the day

I pray that love will shelter us from our fears
Oh, I pray you trust to let me wipe off your tears
Confront all the pain that we felt inside
With all the cards we’ve been dealt in life
Pray I speak my truth and keep my sisters alive

So for the ones who parted seas (ah, yeah)
For the ones who’s followin’ dreams (ah, yeah)
For the ones who knocked down doors (ah, yeah)
And allowed us to pass down keys (ah, yeah)
Pray that we speak with a tongue that is honest
And that we understand how to be modest
Pray when she looks at herself in the mirror
She sees a queen, she sees a goddess

And so we pray for someone to come and show me the way
And so we pray for some shelter and some records to play
And so we pray, we’ll be singin’ “Baraye”
Pray that we make it to the end of the day

And so we pray, I know somewhere that Heaven is waitin’
And so we pray, I know somewhere there’s something amazin’
And so we pray, I know somewhere we’ll feel no pain
Until we make it to the end of the day

On my knees, I pray, as I sleep and wake
‘Cause inside my head is a frightenin’ place
Keep a smiling face, only by His grace
‘Cause love’s more than I can take, hey

And so we pray (and so we pray)
And so we pray (and so we pray)
And so we pray (we’ll be singin’ “Baraye”)
‘Til nobody’s in need and everybody can say (oh)

La-la-la, la-la, la-la (la-la)
La-la-la, la-la, la-la (la-la-la, la)
La-la-la, la-la, la-la (sing it to me)
La-la-la, la-la, we pray, we pray

La-la-la, la-la, la-la (I know somewhere that Heaven is waitin’, is waitin’)
La-la-la, la-la, la-la (I know somewhere there’s something amazin’, something amazin’)
La-la-la, la-la, la-la (until we feel no pain)
La-la-la, la-la, we pray, we pray, we pray

La-la-la, la-la, la-la
La-la-la, la-la, la-la
La-la-la, la-la, la-la
La-la-la, la-la, we pray, we pray, we pray

CategoriesLife NotesToday..what i learn

ทำเต็มที่ แต่ไม่ซีเรียส…

“ทำเต็มที่ แต่ไม่ซีเรียส” ผมได้ยินคำพูดนี้ครั้งแรกจากปกหนังสือธรรมะสักเล่มที่ผมยังไม่ได้อ่าน แต่ผมกลับประทับใจและเก็บเป็นสิ่งเตือนใจทุกครั้งเสมอที่ผมทำงาน

ในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยความคาดหวัง ทั้งจากตัวเองและจากคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่ต้องการความสมบูรณ์แบบ การเรียนที่ต้องได้ผลลัพธ์ยอดเยี่ยม หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ที่ต้องพยายามรักษาไว้ให้ดีที่สุด

“ทำเต็มที่ แต่ไม่ซีเรียส” เป็นคำพูดที่ผมรู้สึกว่าเป็นเหมือนคำเตือนใจและแนวทางที่ช่วยให้ผมจัดการกับความกดดันในชีวิตได้อย่างดี


ไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ที่ไม่อาจควบคุม

การทำเต็มที่ ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเป็นคนที่เก่งที่สุดในทุกเรื่อง แต่มันหมายถึงการให้ใจและความตั้งใจกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร คุณก็มั่นใจได้ว่า “ฉันได้ทำ..ดีที่สุดแล้ว”

ในทางกลับกัน การ “ไม่ซีเรียส” คือ การปล่อยวางผลลัพธ์ที่เกินการควบคุมของเรา

คุณอาจทำงานอย่างเต็มที่ แต่ผลลัพธ์อาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ก็ไม่เป็นไร ปล่อยให้ความตั้งใจที่เราปล่อยออกไปแล้ว ทำงานให้แทนเรา การเรียนและความสัมพันธ์ก็เช่นกัน

-ถ้ามันดี นั่นถือเป็นสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา

-ถ้ามันไม่ดี อย่างน้อยที่สุด เราก็ได้ทำเต็มที่ไปแล้วนี่นา

ความไม่ซีเรียสช่วยให้เราปล่อยวาง และกลับมาโฟกัสที่ความสุขจากการลงมือทำ


ทำไม “ทำเต็มที่ แต่ไม่ซีเรียส” ถึงสำคัญ?


ความซีเรียสเกินไปทำให้เรากดดันตัวเองมากเกินจำเป็น ในขณะที่การทำเต็มที่โดยไม่ซีเรียสช่วยให้เรามีสุขภาพใจที่ดีขึ้น


หากคุณปล่อยวางความกลัวที่จะล้มเหลว และเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองสิ่งใหม่ๆ คุณจะเติบโตจากความผิดพลาด


บทสรุป:

ทำเต็มที่ เพื่อให้ตัวเองภูมิใจในความพยายาม
แต่ไม่ซีเรียส เพื่อปล่อยวางสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

เพราะในท้ายที่สุด… สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณได้ทำในสิ่งที่คุณรัก หรือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ ด้วยความรู้ความสามารถ ตามกำลังที่คุณมีในช่วงชีวิตนั้น และนั่นคือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นคุณออกมาโดยไม่ต้องบรรยายอะไรมากมาย

สุดท้าย คุณจะภูมิใจในตัวเองได้ โดยไม่ต้องรอคำชื่นชมจากใคร เพราะคุณได้ทำดีที่สุดแล้วในแบบของคุณ


CategoriesAI Tools for Everyone

เปลี่ยน 3 วันเป็น 10 นาที! ใช้ ChatGPT Projects สรุปข้อมูลไว ประหยัดเวลา

คุณเคยต้องอ่านเอกสารหรือหนังสือหนาๆ แล้วรู้สึกว่าไม่มีเวลาใช่ไหม? วิดีโอนี้จะแนะนำ ChatGPT Projects ผู้ช่วย AI ที่ช่วยสรุปข้อมูลจากไฟล์ PDF และเอกสารอื่นๆ ได้ในไม่กี่นาที ประหยัดเวลาจาก 3 วันเหลือเพียง 10 นาที! เหมาะสำหรับนักเรียน ครู นักวิจัย นักกฏหมาย หรือใครก็ตามที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มาลองกันเลยครับ!

-อินจนต้องเอามาทำเป็นวิดีโอ

-เริ่มต้นปี ด้วยการเริ่มทำช่องของตัวเอง หวังว่าปีนี้จะส่งออกสิ่งที่เรารู้ออกไปได้บ้างนะ

-ภาพแทรกต้นวิดีโอ ให้ Sora ai ทำ

-script ให้ chat gpt ทำ

-ท่านั่งไม่สุภาพต้องขออภัย เพราะไม่คิดว่า scene ที่เลือกจะมีหน้าตัวเองอยู่ สุดท้ายพอมาเห็นผลลัพธ์ เลยปล่อยเลยตามเลย (มีอัดก่อนหน้าไปแล้ว 1 รอบ วิดีโอนี้เป็นรอบที่ 2)

-อย่างน้อยถือว่าเป็นการทดลอง วันนึงตัวเราในอนาคตมาเห็นจะได้รู้ว่าจากจุดนี้มันพาเราไปที่ไหน

-เป็นปีที่อยากลองอะไรหลายๆอย่างไปหมดเลย

CategoriesAI Tools for EveryoneToday..what i learn

เปลี่ยนวิถีการทำงานด้วย ChatGPT Projects: ผู้ช่วย AI ที่ครบจบในตัวเดียว

ผมขอมาเล่าถึง Humata AI และ ChatPDF ที่เคยเป็น Tools ที่ผมใช้งานมาก่อนหน้า โดย Tools เหล่านี้ได้ช่วยให้ผมจัดการกับข้อมูลในไฟล์ PDF และเอกสารได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อผมต้องการวิเคราะห์เนื้อหา แปลภาษา สรุป หรือหาคำตอบในเอกสารที่ยาวเหยียด โดยเฉพาะใน Humata AI ที่เพียงโยนไฟล์ไป 2 ไฟล์ แล้วให้มันช่วยสรุป ไปจนถึงหาคำตอบจากทั้ง 2 ไฟล์นั้น หรือมีสิ่งใดที่ไม่เขียนไปในทิศทางเดียวกัน ?! ตัวมันก็สามารถรู้ได้ (สายงานวิจัย หรือต้องอ่าน Paper น่าจะถูกใจ Tools นี้)

แต่เมื่อไม่นานมานี้ ผมพบว่า ChatGPT Projects ได้พัฒนาไปอีกขั้น และสามารถเข้ามาทดแทน Tools เหล่านั้นได้ในระดับที่ผมพอใจ (เริ่มรู้สึกถึงความคุ้มค่าที่จ่ายไปให้กับ ChatGPT Plus เลย) เลยอยากมาเขียนแนะนำให้ทุกคนรู้จักกันครับ


Humata AI และ ChatPDF: ผู้ช่วยคนสำคัญในอดีต

ก่อนหน้าที่ผมจะรู้จัก ChatGPT Projects ผมพึ่งพา Humata AI และ ChatPDF อย่างมาก เพราะมันช่วยให้:

  • ค้นหาข้อมูลในไฟล์ PDF ได้อย่างรวดเร็ว: ไม่ต้องเลื่อนหาข้อความด้วยตัวเอง เพียงอัปโหลดไฟล์และถามคำถาม
  • สรุปข้อมูลสำคัญในเอกสาร: ไม่ว่าจะเป็นรายงานยาวๆ หรือเอกสารงานวิจัย ทั้งสอง Tools สามารถสรุปใจความสำคัญได้อย่างรวดเร็ว
  • ตอบคำถามเฉพาะเจาะจง: เมื่อผมต้องการข้อมูลเฉพาะ เช่น ข้อมูลตัวเลข หรือรายละเอียดในบทความ

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่ผมเจอคือ

  • Humata AI
    • ยังไม่เก่งกับภาษาไทย (ในตอนนี้) จากการที่ผมใช้งาน ผมมักถามหรือให้สรุปออกมาเป็นภาษาไทยก่อน เพื่อความง่ายในความเข้าใจ ซึ่งในส่วนนี้ที่ Humata AI ทำงานได้ยังไม่ดี จากการที่ตอบออกมา ก็ตอบสั้นเกินไป
    • Mode ในการตอบมี 3 แบบ :
      • 1.Grounded : ตอบเฉพาะข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์ ถ้าเราถามไม่ตรงกับข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์นั้น คำตอบจะตอบประมาณว่า “คำถามของคุณไม่ถูกต้อง”
      • 2.Balanced : ตอบคำถาม 50% จากที่มีอยู่ในไฟล์ และดึงเอาจากความรู้ในฐานข้อมูลจาก Model ที่ตัวเองใช้อยู่อีก 50% ซึ่งตรงนี้เมื่อผมถามคำถาม ยังเหมือนเอาข้อมูลที่อยู่ในไฟล์มาตอบ แต่จู่ๆ บางครั้งก็เหมือนออกนอกเส้นทางไปเอาจากใน Internet มาตอบเลย ซึ่งที่เอาจากใน Internet มาตอบนั้น อาจมากเกิน 70-80% ด้วย ซึ่งเมื่อเริ่มใช้ไป ผมชักจะมีความรู้สึกแปลกๆ อยู่หลายครั้ง ช่วงนั้นที่คิด ว่าน้องอาจจะไม่เก่งกับไฟล์ใหญ่ๆระดับ 500-600 หน้า แต่น้องอาจจะเก่งกับงานวิจัยที่เป็น Paper ขนาดไฟล์เล็กๆมากกว่า
      • 3.Createive : ตอบแบบไม่อิงไฟล์ : Mode นี้ในความคิดของผม ผมรู้สึกว่า ผมถาม ChatGPT หรือ Claude เอาดีกว่า
  • ChatPDF
    • ข้อจำกัดเดียวเลยคือน่าจะเป็นเรื่อง Format File ที่รองรับแต่ PDF

ChatGPT Projects: ผู้ช่วยที่ทำได้ทุกอย่างในตัวเดียว

จากที่ไม่กี่วันก่อน ที่ทาง ChatGPT เปิดตัว ChatGPT Projects ออกมาเพื่อช่วยให้เราสามารถจัดกลุ่มไฟล์และแชทได้ง่ายขึ้นนั้น เมื่อผมเริ่มใช้งาน ChatGPT Projects ผมก็รู้สึกประหลาดใจมากที่มันสามารถทำสิ่งที่ Humata AI และ ChatPDF เคยทำได้หมด ไม่ว่าจะเป็น

1. การอ่านและวิเคราะห์ไฟล์ PDF

เพียงแค่ผมอัปโหลดไฟล์ PDF ให้ ChatGPT Projects ผมสามารถ:

  • ค้นหาข้อมูลเฉพาะเจาะจง ในเอกสารยาวๆ ได้โดยตรง เช่น ข้อมูลตัวเลข หรือข้อความที่เกี่ยวข้อง
  • สรุปข้อมูลสำคัญ ภายในไม่กี่วินาที โดยไม่ต้องเลื่อนอ่านเอง

2. การทำงานข้ามฟอร์แมต

อันนี้ต่างจาก ChatPDF ที่โฟกัสเฉพาะไฟล์ PDF แต่ ChatGPT Projects ช่วยให้ผมจัดการข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น:

  • ไฟล์ Excel
  • เอกสาร Word
  • และแม้กระทั่งข้อมูลที่ต้องการการวิเคราะห์เพิ่มเติม

3. การเชื่อมโยงข้อมูล

ChatGPT Projects ไม่เพียงแค่ดึงข้อมูลจากไฟล์ PDF แต่ยังสามารถเชื่อมโยงกับคำถามอื่นๆ ที่ผมถาม ช่วยให้ผมวิเคราะห์เนื้อหาในบริบทที่กว้างขึ้น

4. ความสามารถที่ครอบคลุม

  • การเขียนรายงาน: ผมสามารถให้ ChatGPT Projects สร้างรายงานจากข้อมูลในไฟล์ PDF ได้ทันที
  • การวิเคราะห์เชิงลึก: นอกจากการสรุปข้อมูลแล้ว ผมยังสามารถให้มันวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในข้อมูล หรือหาประเด็นสำคัญที่อาจมองข้าม

ความดีใจที่ได้พบ ChatGPT Projects

เมื่อผมเริ่มใช้งาน ChatGPT Projects แม้ว่า Tools ตัวนี้ อาจไม่มีหน้า UI ที่สวยงาม หรือคอยบอกว่าคำตอบที่ตอบผมมานั้น อยู่ที่บรรทัดไหนของเอกสาร แต่ผมก็รู้สึกว่า แค่นี้ก็ดีพอสำหรับผมแล้ว:

ChatGPT Projects เหมาะกับใคร?

นักเรียน , นักการศึกษา , ครู , พนักงาน , พนักงาน IT , นักวิจัย ที่ต้องการให้ AI ช่วยย่อยข้อมูล สรุป เพื่อประหยัดเวลากับเอกสารหรือไฟล์ หรือเมื่อเวลาต้องการถามคำถามอะไรบางอย่างจากไฟล์ที่เกี่ยวข้องตามที่เรา Upload ขึ้นไปก็สามารถทำได้

ในที่นี้อาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถมองเห็นว่า คำตอบที่ได้มา อยู่ที่ส่วนไหนของไฟล์ เหมือนที่ Humata AI หรือ ChatPDF ทำ

-ถ้าคุณต้องการเรียนรู้อะไรไวๆ ต้องการสรุปอะไรบางอย่างเร็วๆ ไม่ต้องการนำไปอ้างอิง Tools นี้เหมาะกับคุณ
-ถ้าคุณคุณจำเป็นต้องรู้ว่าคำตอบที่คุณถามไปนั้น อยู่ที่บรรทัดไหน อยู่หน้าที่เท่าไหร่ เพื่อใช้ในการอ้างอิงต่อ ผมแนะนำให้ใช้ Humata AI หรือ ChatPDF จะดีกว่า

สุดท้าย หากคุณยังไม่ได้ลองใช้ ChatGPT Projects ผมขอแนะนำให้คุณลองเปิดโอกาสให้ตัวเองได้สัมผัสกับความสามารถของ AI ตัวนี้ มันไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ช่วย แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณทำงานสะดวกขึ้น ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในสิ่งที่คุณทำ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน ครู นักวิจัย หรือพนักงานที่จำเป็นต้องเข้าถึงแหล่งข้อมูลจากไฟล์เอกสารจำนวนมาก ลองใช้ ChatGPT Projects แล้วคุณอาจพบว่ามันเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยกระดับทั้งการทำงานและการเรียนรู้ของคุณให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมครับ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ครับ….

หมายเหตุ : ChatGPT Projects อาจนำไปประยุกต์ได้หลายอย่าง สิ่งที่ผมนำเสนอเป็นเพียงสิ่งที่ผมเจอจากประสบการณ์ของผมเอง และผมคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์กับคนบางกลุ่ม เลยเป็นที่มาให้มาเขียนบทความนี้ ถ้ามีอะไรผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

CategoriesMy English AdventureToday..what i learn

3 ปี วันละ 10 นาทีกับแอพฯ Doulingo

ตอนที่เริ่มเรียน Duolingo ใหม่ๆ ผมตั้งใจว่าจะเรียนให้ได้ประมาณวันละ 10 นาที เพราะหากว่านานกว่านั้น ผมคงจะเบื่อเกินไป ! ช่วงแรกที่เล่น ก็ไม่เน้นหาคำศัพท์ใหม่ เน้นเรียนแต่บทเรียนเดิมๆ ให้ได้คะแนนเร็วๆ ง่าย เพื่อให้ตอนสุดท้ายเมื่อจบสัปดาห์ กลายมาเป็นที่ 1 (หากอยู่อันดับที่ดี ก็จะเลื่อนไปถ้วยรางวัลลำดับถัดไป แต่ละลำดับก็จะมีคนแข่งขันกัน ว่าใครจะเป็นคนลำดับสูงที่สุด)


3 ปีผ่านไป เพียงวันละ 10 นาที ทักษะการฟังภาษาอังกฤษก็ดีขึ้นจนรู้สึกได้

จากการเรียนเล็กๆ น้อยๆ ทุกวัน คำศัพท์ที่ผมสะสมมาได้ในช่วง 3 ปีนี้ ใน Doulingo จะบอกผ่านแอพฯ ว่าตอนนี้คุณมีคำศัพ์ที่เรียนไปแล้วประมาณ 2,000 คำ ซึ่งอาจฟังดูไม่เยอะเมื่อเทียบกับคนที่เรียนแบบจริงจัง แต่ที่รู้สึกในช่วงนี้คือ ทักษะการฟังของผมมันดีขึ้นแบบไม่รู้ตัว!

เมื่อก่อนฟังภาษาอังกฤษแล้วมีความรู้สึกเหมือนเราฟังเพลง Rap หรือ Hiphop ที่มันฟังแล้วรู้ว่านี่เพลง Rap เพลง Hiphop นะ หรือนี่คือภาษาอังกฤษนะ แต่ไม่รู้ว่าคำๆนั้นที่กำลังฟัง เขาพูดว่าอะไร

แต่ตอนนี้…เมื่อมีโอกาสได้ฟังภาษาอังกฤษผ่าน Youtube หรือ Online Course ต่างๆ มันจะมีความรู้สึก “แอ๊ะ อ๋อ..” เช่น ตอนนี้เรารู้ว่าผู้พูดกำลังพูดคำว่าอะไรบ้าง จากทั้งประโยคได้ประมาณ 40% เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก มันก็เพิ่มเป็น 50-70% ราวๆนี้ หรือเวลาเจอฝรั่งนอกสถานที่แล้วมาถามคำถาม ช่วงนี้สามารถตอบกลับไปสั้นๆได้บ้างแล้ว (แค่นี้ชีวิตก็ดีใจแล้ว จากที่คิดว่าจะไม่มีโอกาสสนทนาเป็นภาษาต่างชาติได้แล้วในชาตินี้)

ตอนนี้เริ่มจับทริคได้แล้วว่า การจะเริ่มเรียนรู้อะไร มันไม่ได้อยู่ที่การเรียนเยอะๆ ในครั้งเดียว แต่มันคือการทำมัน “ทุกวัน” จนสมองเริ่มคุ้นเคยกับเสียงและจังหวะภาษานั่นเอง


2 เคล็ดลับสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษให้ดี

  1. ต้องมีคลังคำศัพท์มากกว่า 2,000 คำ

การมีคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวันมากกว่า 2,000 คำ จะช่วยให้เราเข้าใจการสนทนาในระดับทั่วไปได้

Duolingo ช่วยได้เยอะในเรื่องนี้ เพราะมันสอนคำศัพท์ที่จำเป็นและใช้ได้จริง มีหลายรูปประโยคและวิธีการสนทนาให้ได้พูดตามที่เรียนผ่านแอพฯ (ช่วงแรกที่ต้องพูดตามแอพฯ แล้วรู้สึกอายม้วนต้วนมาก มาตอนนี้หรอ ไปไหว้พระยังพูดกับ Doulingo เลย 555)

  1. ฝึกฟังให้จับใจความได้

การเรียนผ่าน Duolingo ไม่ได้แค่เพิ่มคำศัพท์ แต่ยังช่วยฝึกทักษะการฟังด้วยเสียงจากเจ้าของภาษาที่หลากหลาย

นี่คือสิ่งที่ Duolingo พาผมมาถึงระดับนี้: ฟังเข้าใจพื้นฐาน แม้ยังอาจไม่ใช่การแปลขั้นเทพ


แล้วถ้าเรียนวันละ 30 นาทีล่ะ?

จู่ๆ ผมก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “นี่ขนาดเรียนวันละ 10 นาที มาเป็นเวลา 3 ปี เรายังฟังได้เทพขนาดนี้ ถ้าหากว่าปรับไปเรียนวันละ 30 นาที นี่ไม่เก่งไปตั้งแต่ปีแรกเลยหรอกเหรอ”

คำตอบคือ… แน่นอนว่ามันช่วยได้

ถ้าคำนวณง่ายๆ การเรียนวันละ 30 นาทีใน 1 ปี จะเท่ากับการเรียน 3 ปีแบบเดิม!

แต่ที่มากกว่านั้นคือ เราจะได้ฝึกฟังเสียงมากขึ้น บ่อยขึ้น และซึมซับจังหวะภาษาดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้น

แต่…
ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่เวลา แต่มันอยู่ที่ “ความสม่ำเสมอ”
ถ้าเพิ่มเป็น 30 นาทีแต่ทำได้แค่ 1-2 เดือนแล้วเลิก แค่จะจับแอพฯมาเรียนแล้วเครียด เรียนไปมันก็ไม่มีประโยชน์เท่ากับการเรียนทุกวัน วันละไม่กี่นาทีอย่างต่อเนื่อง


สรุป…

ถ้าเรามีเวลาและพลังใจมากพอ การเรียน Doulingo วันละ 30 นาทีจะช่วยให้เราเก่งเร็วขึ้น 10x🚀
แต่ถ้าชีวิตเรายุ่งเหยิง เหมือนเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่จบงานนั้น แล้วต้องไปต่องานนี้ (มีแต่เควสรอบตัว) การเรียนวันละ 10 นาทีก็ยังเป็นวิธีที่ดีในการสะสมความรู้ไปเรื่อยๆ

สุดท้ายแล้ว…
มันไม่สำคัญว่าเราเรียนวันละกี่นาที แต่อย่าหมดหวังกับการเรียนภาษา เพราะภาษาคือทักษะที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง และเชื่อเถอะว่า เมื่อภาษาคุณดี อะไรๆก็ดีตาม เปรียบกับน้องเด็กเสิร์ฟคนหนึ่ง ถ้าหากน้องเขาไม่ได้ภาษา น้องคงจะอยู่ได้แค่ร้านอาหารทั่วไป แต่หากน้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ภาษานั้นอาจเป็นใบเบิกทาง พาน้องเข้าไปทำงานอยู่ในโรงแรมใหญ่เลิศหรูได้

จบการรีวิวการเรียนภาษาอังกฤษ ตอนที่ 1/5

ไว้ตอนต่อไปจะมาเล่าประสบการณ์ ว่าผมไปเรียนอะไรต่อเพื่อให้ภาษาอังกฤษผมพัฒนายิ่งขึ้น

แล้วมาติดตามกันครับ…


CategoriesAI Tools for EveryoneLife Notes

ตั้งเป้าหมายต้อนรับปีใหม่: ใช้ AI ช่วยพาคุณไปให้ถึงฝัน

อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันปีใหม่ หลายคนคงเริ่มคิดถึง เป้าหมาย” ที่อยากทำให้สำเร็จในปีหน้านี้ใช่ไหมครับ? หลายครั้งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ดีมาก แต่ผ่านไปแค่ไม่กี่สัปดาห์เรากลับหลงทาง ไม่ทำต่อ หรือไม่รู้ว่าควรจะเริ่มยังไง (ค่าสมัครสมาชิก Fitness ยังผ่อน 6 เดือนไม่หมดเลย )

ระหว่างนี้ลองมาใช้ AI เป็นเพื่อน คู่คิด” ในการตั้งเป้าหมายและช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายกันครับ เพราะ AI ไม่ได้มีไว้แค่ช่วยหาข้อมูล แต่มันยังช่วย กระตุ้นความคิด วางแผน และสร้างแรงจูงใจ ได้ด้วย


1. ตั้งเป้าหมายส่วนตัวด้วย AI: Prompt พร้อมปรับให้เหมาะกับคุณ

ก่อนอื่น เราต้องเริ่มจากการตั้งคำถามที่ช่วยกระตุ้นความคิด เพื่อค้นหาเป้าหมายที่เหมาะกับตัวเรามากที่สุด ลองใช้ Prompt เหล่านี้กับ AI เช่น ChatGPT เพื่อช่วยกำหนดทิศทาง:

Prompt ตัวอย่าง

  1. ช่วยแนะนำเป้าหมายในปีใหม่ที่เหมาะกับคนที่สนใจพัฒนาตนเอง แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน”
  2. ถ้าผมต้องการตั้งเป้าหมายเรื่องสุขภาพในปีนี้ คุณช่วยแนะนำเป้าหมายที่เป็นไปได้และน่าสนใจให้หน่อย”
  3. ช่วยสร้างรายการเป้าหมายในปี 2024 ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ พร้อมตัวอย่างการเริ่มต้น”

ตัวอย่างผลลัพธ์จาก AI

  • สำหรับสุขภาพ: “เริ่มต้นออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ด้วยโยคะหรือเดินเร็ว”
  • การพัฒนาตนเอง: “อ่านหนังสือเดือนละ 1 เล่มในหัวข้อที่คุณอยากเข้าใจ เช่น การเงิน, จิตวิทยา หรือทักษะการทำงาน”
  • การเรียนรู้: “เรียนรู้ภาษาใหม่ผ่านแอป เช่น Duolingo วันละ 15 นาที”

ตัวอย่างที่คนมักคิดตั้งเป้าปีใหม่กัน โดยส่วนมากมักจะมีหัวข้อดังนี้ครับ

สุขภาพและออกกำลังกาย
“ฉันอยากสุขภาพดีขึ้น ช่วยตั้งเป้าหมายที่ง่ายต่อการทำ เช่น เพิ่มการออกกำลังกายเป็นประจำหรือปรับอาหารการกินให้ดีขึ้น”

การเงินและการออม
“ฉันอยากเก็บเงินให้ได้มากขึ้นในปีหน้า ช่วยกำหนดเป้าหมายการออมที่เหมาะสมสำหรับคนเงินเดือน xx,xxx พร้อมวิธีลดรายจ่าย”

การพัฒนาตัวเอง
“อยากเรียนรู้และพัฒนาตนเองในปีหน้า แนะนำเป้าหมายเช่น อ่านหนังสือ, เรียนทักษะใหม่ หรือพัฒนาด้านการทำงาน”

ความสัมพันธ์
“ช่วยกำหนดเป้าหมายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น ใช้เวลากับครอบครัว หรือเรียนรู้การสื่อสารที่ดีขึ้น”

ความสุขและสมดุลชีวิต
“ฉันอยากชีวิตสงบและสมดุลมากขึ้นในปีหน้า ช่วยตั้งเป้าหมายการจัดเวลาให้มีทั้งงานและพักผ่อน”

สุขภาพจิต
“ช่วยแนะนำเป้าหมายเล็กๆ ในการดูแลจิตใจ เช่น ฝึกสมาธิ, เขียนบันทึก หรือหยุดคิดลบ”

การงานและอาชีพ
“ฉันอยากเพิ่มความก้าวหน้าในอาชีพปีหน้า ควรตั้งเป้าหมายอะไรบ้าง เช่น การพัฒนาทักษะหรือการเริ่มโปรเจกต์ใหม่?”

งานอดิเรก/การผ่อนคลาย
“ปีนี้ฉันอยากมีเวลาทำสิ่งที่รักมากขึ้น เช่น งานอดิเรกหรือกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ ช่วยแนะนำเป้าหมายที่ชัดเจน”

จุดสำคัญคือปรับเป้าหมายให้เหมาะกับตัวเองที่สุด เช่น ถ้าคุณไม่ชอบการอ่าน อาจเปลี่ยนเป้าหมายเป็นฟังหนังสือเสียงแทน


2. ใช้หลัก SMART เพื่อสร้างเป้าหมายที่ชัดเจน

เมื่อเรากำหนดเป้าหมายคร่าวๆ ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำให้มันชัดเจน วัดผลได้ และเป็นไปได้จริง ด้วยหลัก SMART เพื่อช่วยให้เป้าหมายของเรามีโครงสร้างที่แน่นอน และเพิ่มโอกาสในการทำสำเร็จ โดยมีรายละเอียดของ SMART ดังนี้

SMART คืออะไร?

  • S: Specific (เฉพาะเจาะจง)
    เป้าหมายต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ หรือกว้างเกินไป
    • ถามตัวเอง: “เป้าหมายนี้เกี่ยวกับอะไร?”
    • ตัวอย่าง: แทนที่จะบอกว่า “อยากสุขภาพดี” ให้เจาะจงว่า “อยากลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม”
  • M: Measurable (วัดผลได้)
    เป้าหมายต้องสามารถวัดผลได้ เพื่อให้เรารู้ว่าเรากำลังเดินหน้าหรือไม่
    • ถามตัวเอง: “ฉันวัดความสำเร็จได้อย่างไร?”
    • ตัวอย่าง: “ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัมใน 3 เดือน” หมายความว่าเราสามารถชั่งน้ำหนักเพื่อติดตามผลได้
  • A: Achievable (ทำได้จริง)
    เป้าหมายต้องเป็นสิ่งที่เราทำได้ ไม่ไกลเกินความสามารถ
    • ถามตัวเอง: “ถ้าฉันจะทำเรื่องนี้ ฉันสามารถทำได้จริงหรือไม่?”
    • ตัวอย่าง: ถ้าคุณไม่มีเวลาออกกำลังกายทุกวัน อาจปรับเป้าหมายเป็น “ออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์” แทน
  • R: Relevant (เกี่ยวข้องและเหมาะสม)
    เป้าหมายควรสอดคล้องกับสิ่งที่คุณต้องการในชีวิต ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นบอกว่าคุณควรทำ
    • ถามตัวเอง: “เป้าหมายนี้สอดคล้องกับสิ่งที่ฉันต้องการจริงๆ หรือเปล่า?”
    • ตัวอย่าง: ถ้าคุณไม่สนใจการวิ่ง แต่ชอบโยคะ การตั้งเป้าหมายเรื่องการวิ่งอาจไม่เหมาะกับคุณ
  • T: Time-bound (กำหนดเวลา)
    เป้าหมายต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้เราเริ่มต้นและติดตามความคืบหน้า
    • ถามตัวเอง: “ฉันจะทำสิ่งนี้ให้สำเร็จเมื่อไหร่?”
    • ตัวอย่าง: “ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัมภายใน 3 เดือน” ทำให้คุณรู้ว่าเมื่อครบ 3 เดือน คุณควรตรวจสอบผล

ตัวอย่างการปรับเป้าหมายด้วย SMART

เป้าหมายเริ่มต้น: “อยากสุขภาพดี”

ปรับด้วย SMART:

S (เฉพาะเจาะจง): ฉันจะลดน้ำหนัก

M (วัดผลได้): ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม

A (ทำได้จริง): ทำได้ด้วยการออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และปรับการกินอาหาร

R (เกี่ยวข้อง): เพราะฉันต้องการมีพลังงานมากขึ้นสำหรับงานและครอบครัว

T (กำหนดเวลา): ภายใน 3 เดือน


3. ทำต่อเนื่อง 21 วัน เพื่อสร้างนิสัย และต่อยอดในระยะยาว

มีงานวิจัยบอกว่า การทำสิ่งใดต่อเนื่อง 21 วัน” ช่วยให้สมองเริ่มสร้างนิสัยใหม่ขึ้นมา แต่การบรรลุเป้าหมายใหญ่ต้องอาศัยการแบ่งเป้าหมายออกเป็นช่วงสั้นๆ

วิธีทำให้เป้าหมายสำเร็จทีละขั้น

  1. ช่วง 21 วันแรก (ระยะสั้น):
    • โฟกัสที่ “การเริ่มต้น” และสร้างความเคยชิน เช่น เดินวันละ 10 นาที หรือเขียนเป้าหมายในสมุดทุกวัน
  2. ระยะกลาง (3 เดือน):
    • เพิ่มความท้าทาย เช่น เดินให้ได้ 30 นาทีทุกวัน หรือเริ่มเรียนคอร์สออนไลน์แล้วต้องส่งงานให้ครบ
  3. ระยะยาว (6 เดือน):
    • ทบทวนและปรับเป้าหมาย เช่น จากเดินเร็วเป็นวิ่ง หรือจากเรียนรู้ทักษะใหม่เป็นการลงมือทำโปรเจกต์จริง

4. ใช้เครื่องมือ (Tools) ช่วยให้เป้าหมายกลายเป็นจริง

เทคโนโลยีช่วยให้เราจัดการเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ลองใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อช่วยติดตามและกระตุ้นตัวเอง:

สำหรับการวางแผนและติดตามเป้าหมาย

  • Notion: ใช้สำหรับวางเป้าหมายและจดบันทึกความก้าวหน้า
  • Trello: สร้างบอร์ดเป้าหมาย และติดตามความคืบหน้าทีละขั้น
  • Google Keep หรือ Evernote: จดบันทึกสั้นๆ สำหรับไอเดียหรือสิ่งที่ต้องทำ

สำหรับสุขภาพและนิสัย

  • Habitica: แอปติดตามนิสัยที่เปลี่ยนกิจวัตรให้เหมือนเกม สนุกและกระตุ้นตัวเอง
  • MyFitnessPal: ติดตามอาหารและการออกกำลังกาย
  • Strava: สำหรับติดตามการเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน

สำหรับการเรียนรู้

  • Coursera หรือ Skillshare: ค้นหาคอร์สเรียนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของคุณ
  • Duolingo: เรียนภาษาง่ายๆ วันละ 10 นาที

สรุป: ปีนี้ คุณจะไปให้ถึงไหน?

ปีใหม่คือโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นใหม่ แต่การตั้งเป้าหมายให้สำเร็จไม่ได้อยู่ที่ “คำอวยพร” หรือ “แรงบันดาลใจ” เท่านั้น แต่อยู่ที่การลงมือทำอย่างต่อเนื่อง

  1. ใช้ AI ช่วยค้นหาเป้าหมายที่เหมาะกับคุณ
  2. ปรับเป้าหมายด้วยหลัก SMART เพื่อความชัดเจน
  3. แบ่งเป้าหมายออกเป็นช่วงเวลา: 21 วัน, 3 เดือน, และ 6 เดือน
  4. ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ช่วยให้คุณไม่หลุดจากเส้นทาง

เชื่อว่าปีหน้า ชีวิตเราจะไม่เหมือนปีนี้แน่นอน แม้มองไม่เห็นแต่ขอฝันถึงชีวิตที่ดีไปก่อน! 🚀
แล้วคุณล่ะครับ เป้าหมายปีหน้าของคุณที่ตั้งไว้คืออะไร มาเล่าบอกแชร์เป้าหมายกันบ้างนะครับ? 😊

CategoriesLife Notes

กว่าจะรู้ว่าเราชอบ(ทำ)อะไร: เรื่องราวของการทดลองและการตามหาความรู้สึก”ใจฟู”

หลายครั้งผมถามตัวเองว่า “เราชอบทำอะไรจริงๆ กันแน่?” แต่คำถามนี้ไม่เคยมีคำตอบที่ชัดเจนให้ผมเลย แม้จะลองทำมาหลายอย่าง แต่ทุกครั้งที่เริ่มต้นใหม่ ผมก็ต้องจบลงด้วยความรู้สึกเดิมๆ


เส้นทางที่เต็มไปด้วยการลองผิดลองถูก

ผมเป็นคนที่ลองทำมาหลายอย่างจนตัวเองยังงงว่า “เราไปทำอะไรมาเยอะแยะขนาดนี้ได้ยังไง?”

เคยขับรถส่งอาหาร 🍔 คิดว่างานง่าย รายได้ดี แต่ทำไปไม่นานเมื่อถูกปรับลดราคาค่าส่งลง ก็รู้ว่ามันไม่ใช่ ทำไปไม่คุ้ม

ลงเรียนตัดผม 💇 หวังว่าจะเปิดร้านของตัวเอง แต่สุดท้ายความสนใจก็จางหาย ทิ้งไว้แต่เพียงอุปกรณ์ตัดผม 🤣

จ่ายเงินหลักหมื่นลงเรียน Forex กับอาจารย์ดัง💰 คิดว่าเราจะเก่งและทำกำไรได้ แต่สุดท้ายหมดเงินไปเป็นหลักแสน😅

ลงเรียนการตลาดออนไลน์ 📊 กับผู้สอนดังๆ เพราะคิดว่าจะสร้างธุรกิจส่วนตัวได้ แต่ก็ไม่เคยได้ทำจริงจัง เพราะไม่รู้เราจะหาสินค้าอะไรไปขายดี

ลงเรียนเรื่องการขาย 🤑 เพราะหวังจะพรีเซ็นต์และนำเสนอในสิ่งที่ดีให้ลูกค้า แต่เรียนไปเรียนมา มันเหมือนจิตวิทยาที่พูดชักจูงให้คนคล้อยตาม พูดนำอย่างไรให้คนไม่ปฏิเสธ ทั้งเรื่องที่ทำให้กลัวเสียโอกาส ถ้าไม่ซื้อตอนนี้ คุณจะไม่ได้ราคานี้ ฯลฯ

เคยอยากเป็น Content Creator 🎥 คิดจ้างรุ่นน้องมาช่วยทำช่อง ถามราคารุ่นน้องไป ว่าตัดต่อแบบมืออาชีพช่องดัง ต้องเสียเงินตอนละเท่าไหร่ รุ่นน้องตอบกลับมาว่า “ดีที่สุดคือพี่ทำแชร์สิ่งที่ตัวเองชอบเองไปเรื่อยๆ แบบนั้นจะดีกว่ามาจ้าง” พอถึงตรงนี้ ก็วกกลับมาที่คำถามเดิม ว่าตอนนี้เราชอบอะไรนะ?!😅

ลงเรียนวิธีนำเข้าสินค้าจากจีน 📦 ฝันว่าจะหาสินค้าที่เป็นกระแสนำเข้ามาขายในไทย แต่ก็ไม่ได้เริ่มต้นอะไร เพราะไม่รู้จะขายอะไรดี?!

ที่ทำมาทั้งหมดนี้ จุดร่วมจุดหนึ่งคือ…ผมหวังแต่เรื่อง “เงิน” เป็นหลัก


แล้วทำไมมันไม่สำเร็จสักอย่าง?

สิ่งหนึ่งที่ผมเริ่มสังเกตได้จากการย้อนมองตัวเอง คือ ทุกครั้งที่ผมเริ่มต้นใหม่ ผมไม่ได้เริ่มจากสิ่งที่ผมรัก แต่ผมเริ่มจากมอง “เงิน” เป็นอันดับแรก

ผมคิดว่า “สิ่งนี้ต้องทำเงินให้เราได้แน่นอน”

แต่ปัญหาคือ เงินอาจสำคัญ แต่ถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่เรารัก มันก็เลยไม่พาเราไปไหนไกล


ตกผลึก: เงินไม่ใช่สิ่งเดียวที่เราต้องการ

วันหนึ่งผมถามตัวเองว่า “ถ้าเงินไม่ใช่สิ่งที่เรารัก แล้วอะไรคือสิ่งที่เราต้องการจริงๆ?”

คำตอบมันชัดเจนขึ้นเมื่อผมมองย้อนกลับไปยังช่วงเวลาที่ผมรู้สึก “ดีใจ” หรือ “ภูมิใจ” มากที่สุดในชีวิต

นั่นคือช่วงเวลาที่ผม…

ช่วยคนอื่นแก้ปัญหา: ตอนที่มีคนขอบคุณเรา เพราะคำแนะนำของเราทำให้เขาแก้ปัญหาได้ ทีนี้เลยใจฟูเลย ฟูแบบที่เงินก็ซื้อไม่ได้ (Giver)

สอนคอร์สเสร็จให้กับนักเรียน: ได้เห็นพวกเขาเข้าใจและเอาสิ่งที่เราสอนใช้ได้จริง สร้างแอพฯมือถือขึ้นมาจริงๆ ความฟูนั้นติดตัวไปเป็นอาทิตย์! แล้วยิ่งมารู้ว่านักเรียนเหล่านั้น ได้งานดีๆ ได้เงินดีๆ ความฟูทีนี้มันติดตัวไปยาวๆเลย (Giver)

แชร์ประสบการณ์: เล่าเรื่องที่เราเคยเจอ แล้วคนฟังบอกว่า “เฮ้ย ขอบคุณมาก ช่วยผมได้มากจริงๆ” (Giver)

จนจุดนึงผมเริ่มตกผลึกว่า คุณค่าที่เราส่งมอบให้คนอื่น มันสามารถสร้างความสุขและความหมายให้ตัวเราได้มากกว่าเงิน


คุณค่า: สิ่งที่สร้างความหมายให้ชีวิตเรา

จากจุดนั้น ผมเริ่มเปลี่ยนคำถามในใจ จาก “สิ่งนี้ทำเงินได้ไหม?” เป็น “สิ่งนี้ช่วยคนอื่นได้ไหม?”

ผมพบว่าการได้ส่งมอบคุณค่าให้คนอื่น ทำให้ชีวิตของผมมีความหมายมากขึ้น เช่น:

การแชร์ความรู้ของเราให้ใครบางคนในสิ่งที่เขาไม่รู้

การช่วยแนะนำวิธีแก้ปัญหาเล็กๆ ให้เพื่อนร่วมงาน

การแชร์ประสบการณ์ที่เราผ่านมา เพื่อให้คนอื่นไม่ต้องเจอปัญหาแบบเรา

มันไม่ใช่แค่ “ใจฟู” ชั่วคราว แต่เป็นความสุขที่ค่อยๆ สะสม จนเรารู้สึกว่า ชีวิตนี้ช่างมีคุณค่าจริงๆ


จากการมองหาเงิน สู่การมองหาคุณค่า

เมื่อผมเริ่มเปลี่ยนมุมมอง ชีวิตผมก็เปลี่ยนไป:

ผมไม่ต้องกดดันตัวเองให้หา “สิ่งที่ใช่” ในทันที

ผมไม่ต้องวิ่งตามสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง เพียงเพราะมันทำเงินได้มาก

ผมเริ่มมองหาสิ่งที่เราสามารถส่งมอบคุณค่าให้คนอื่นได้

และสิ่งที่น่าสนใจก็คือ… เมื่อคุณตั้งใจจะส่งมอบคุณค่า เงินและโอกาสก็มักจะตามมาเองโดยธรรมชาติ


จะเริ่มอย่างไรดี ถ้าในวันนี้ เรายังไม่รู้ว่าเราชอบอะไร ลองเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ ดังนี้:

  1. คุณเคยทำอะไรแล้วรู้สึกว่า “ดีจัง ที่เราได้ช่วยเขา”?
  2. คุณมีทักษะอะไรที่คนอื่นมักถามหาจากคุณ? (ตำน้ำพริก , ปลูกป่า , ดูประการัง , รู้จักที่กางเต้นท์วิวหรู ราคาหลักร้อย และคนไม่พลุกพล่าน?!)
  3. ถ้ามีโอกาสลองทำอะไรสักอย่าง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินเลย คุณจะทำอะไร? (ออกไปเที่ยว ,นอนเฉย : 2 อันนี้ก็ตอบได้นะ เช่น นำเสนอสถานที่ใหม่ๆ ที่คนไม่น่าจะเคยได้ไปและมันน่าสนใจ หรือการทดสอบที่นอน เพื่อมั่นใจว่าการนอนนั้น มันช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนๆที่ใช้ที่นอน อะไรอย่างนี้ก็ได้นะเออ)

บทสรุป: เริ่มต้นจากการมองหา….การส่งมอบคุณค่า

บางทีสิ่งที่เราชอบอาจไม่ได้ชัดเจนในตอนแรก แต่เราสามารถเริ่มต้นจาก การมองหาคุณค่าที่จะส่งมอบเป็นอันดับแรก

-ช่วยคนรอบตัวในสิ่งที่เราทำได้

-แชร์สิ่งที่เรารู้หรือประสบการณ์ที่เราเคยผ่าน

-ค่อยๆ สำรวจตัวเองว่าชอบในสิ่งนั้นจริงๆหรือเปล่า

อย่ากดดันตัวเองว่าต้องรู้คำตอบทันที เพราะคำตอบเหล่านั้นจะค่อยๆ ชัดเจนขึ้น เมื่อคุณลงมือทำและส่งมอบคุณค่าที่แท้จริงให้คนอื่น

โดยส่วนตัวผมหาตัวเองนานมากกกกกกกกกกกกก กว่าจะเจอ

และไอ้บางอย่างที่เราคิดว่าตอนนี้ที่เราเจอแล้วมันใช่ วันนึงเมื่อเวลาเปลี่ยนไป มันอาจไม่ใช่แล้วก็ได้ ดังนั้น….อย่ายึดติด

สุดท้ายนี้ คุณเคยเจอโมเมนต์ “ใจฟู” แบบนี้บ้างหรือเปล่า? มาเล่าบอกให้ฟังกันบ้างนะครับ!


CategoriesLife NotesToday..what i learn

พลังแห่งการลงมือทำ: แบ่งปันจากชายวัย 39

พลังแห่งการลงมือทำ: แบ่งปันจากชายวัย 39

👋 สวัสดีครับทุกคน

ตลอดชีวิตที่ผ่านมาผมได้ลองทำสิ่งต่างๆ มากมาย บางอย่างสำเร็จ บางอย่างผิดพลาด แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ทุกครั้งที่ผมลงมือทำ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ผมมักได้เรียนรู้อะไรบางอย่างที่สำคัญกลับมาเสมอ วันนี้ผมเลยอยากมาแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวเกี่ยวกับ “พลังแห่งการลงมือทำ” ให้ทุกคนได้อ่านกันครับ 🌟


จุดเริ่มต้น: หนังสือที่เปลี่ยนชีวิต 📚

ผมชื่นชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะหนังสือจากสำนักพิมพ์ WeLearn ที่มักนำเสนอแนวคิดกระตุ้นแรงบันดาลใจ ✨ สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากหนังสือเหล่านี้คือ

💡 “การลงมือทำ” คือกุญแจสำคัญของความสำเร็จ

ในแต่ละหน้าของหนังสือ มันย้ำเตือนผมเสมอว่า ถ้าเราเริ่มต้นลงมือทำในสิ่งที่ดี มันจะส่งผลดีต่อชีวิตเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง 🛤️


บทเรียนจากชีวิต: พลังแห่งการลงมือทำ 💪

1. การศึกษา: ก้าวเล็กๆ ที่นำไปสู่โอกาสใหญ่ 🎓

ย้อนกลับไปตอนเด็ก ผมเคยเรียน กศน. โดยที่ไม่รู้จริงๆ ว่าจะเรียนไปทำไม 🤔 แต่เมื่อเรียนจบ มันกลับเป็นใบเบิกทางที่ทำให้ผมได้รับโอกาสทำงานในบริษัทที่ดี 💼

ช่วงเวลานั้นทำให้ผมเชื่อมั่นว่า การลงมือทำแม้ยังไม่รู้จุดหมายชัดเจน ก็อาจนำเราไปสู่สิ่งที่เราคาดไม่ถึง 🚀

2. การสอนออนไลน์: จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่เส้นทางใหม่ 🧑‍🏫

ผมเคยอยากสอนออนไลน์ผ่าน Udemy โดยที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการสอนมาก่อน 😅 แต่เมื่อเริ่มทำและฝ่าฟันความกลัวไปได้ สิ่งที่ตามมาคือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ 🌟

ผมได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยและเป็นวิทยากรในวิทยาลัยอีกหลายแห่ง 🎓✨ ประสบการณ์นี้สอนผมว่า

การเริ่มต้นในสิ่งที่เราอยากทำ อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต

3. การเรียนภาษาอังกฤษ: การลงทุนที่ส่งผลระยะยาว

ผมเคยเรียนภาษาอังกฤษแบบไม่มีเป้าหมายชัดเจน 📖 แต่วันหนึ่งเมื่อโอกาสมาถึง ผมกลับได้ทำงานกับชาวต่างชาติ 🌍 และใช้ภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง

มันย้ำเตือนผมว่า การลงมือทำในวันนี้ อาจส่งผลดีในอนาคตที่เรามองไม่เห็น 🔮


ความไม่พร้อม: เหรียญสองด้านของชีวิต 🪙

ชีวิตผมยังสอนว่า “ความไม่พร้อม” เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน

  • ด้านดี: ความไม่พร้อมผลักดันให้ผมพัฒนา เช่น การรับงานสอนที่ยากเกินตัว การรับงานพัฒนาเขียนโปรแกรม รับงานเขียนเว็บไซต์ รับงานพัฒนา Mobile Application เหล่านี้ทั้งหมด ผมเริ่มต้นตอนที่ไม่พร้อม แต่สิ่งต่างๆเหล่านี้กลับช่วยเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ เข้ามานับไม่ถ้วน 🏆 (ผมหงอกก็เช่นเดียวกัน🤣)
  • ด้านไม่ดี: ผมเคยรับงานพัฒนาเขียนโปรแกรมโดยไม่กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ไม่คิดราคาให้ชัดเจน รับงานตัดหน้ามืออาชีพ เพราะมั่นใจว่าตัวเองเก่ง จนสุดท้ายงานล่าช้าและเกิดปัญหา จนรู้สึกว่าเราเสียชื่อ ไม่น่าไปรับปากทำงานเลย ❌

สิ่งสำคัญคือ การเรียนรู้จากความผิดพลาด และปรับตัวให้ดียิ่งขึ้น ()🔧


บทสรุป: พลังแห่งการลงมือทำ 🎯

💡 ตลอดชีวิตที่ผมลงมือทำสิ่งต่างๆ ผมได้เรียนรู้ว่า ทุกก้าวเล็กๆ ที่เราก้าวเดิน แม้จะดูเหมือนไม่สำคัญ แต่มันคือสิ่งที่พาเราเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ 🚶‍♂️➡️🏆

อย่ารอให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ อย่าปล่อยให้ความคิดกังวลหรือความกลัวหยุดคุณ 💭 เพราะบ่อยครั้ง การคิดมากเกินไปจะกลายเป็นกำแพงที่ขวางทางเรา เรากังวลว่าจะไม่ดีพอ หรือกลัวว่าจะล้มเหลว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ

“การลงมือทำ” แม้จะไม่สมบูรณ์แบบ ก็ยังดีกว่าการไม่เริ่มต้นเลย

และเมื่อคุณลงมือทำ จะมีคนที่เห็นคุณค่าในสิ่งที่คุณทำ และพร้อมที่จะสนับสนุนคุณเสมอ 🙌 ไม่ว่าคุณจะทำเพื่อตัวเองหรือเพื่อผู้อื่น พลังแห่งการลงมือทำจะดึงดูดโอกาสและผู้คนดีๆ เข้ามาในชีวิต

หยุดคิด แล้วเริ่มทำตอนนี้เลย
เพราะโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตของคุณ ไม่ได้อยู่ในอนาคตที่ไกลโพ้น แต่มันซ่อนอยู่ในสิ่งที่คุณกล้าทำใน “ตอนนี้” 💪✨

ชีวิตของคุณกำลังรอให้คุณสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และคุณคือคนเดียวที่จะทำให้มันเป็นจริงได้ 🌟

ขอสนับสนุนทุกการลงมือทำในสิ่งที่ดีครับ😊

CategoriesLife Notes

ชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อได้รู้จักใช้ AI

ชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อได้รู้จักใช้ AI 🎯

วิถีชีวิตของผมในวัย 39 เริ่มต้นเพียงเพื่อเอาตัวรอดกับหน้าที่ต่างๆ ทั้งงาน ครอบครัว และความรู้ใหม่ๆ ที่เหมือนจะกองเต็มโต๊ะทุกวัน แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อผมมาเจอกับ AI ที่ใช่ มันเหมือนมีเพื่อนคู่คิดที่เก่งทุกเรื่อง ช่วยให้การทำงาน การเรียนรู้ และการจัดการชีวิตง่ายขึ้นไปอีกขั้นสำหรับใครที่คิดว่า AI คือของเล่นไฮเทค ขอบอกเลยว่ามันไม่ได้แค่นั้นครับ มันคือ “ปาฏิหาริย์เล็กๆ” สำหรับคนที่เวลามีจำกัดแบบผม อยากรู้ไหมครับว่าชีวิตดีขึ้นยังไงบ้าง?

ลองนึกภาพตามดูกัน…

💻 จากงานที่เคยยาก ตอนนี้กลายเป็นปอกกล้วย

  • แต่ก่อนต้องนั่ง Copy ข่าวทีละข่าว Save รูปภาพทีละภาพมาโพสต์ลงเว็บไซต์ ลองคิดดูว่าต้องเสียเวลาไปเท่าไหร่… แต่พอผมลองให้ AI เขียนโค้ดให้แทน แค่พิมพ์ Prompt เดียว เช่น
    “ช่วยเขียน Python Code สำหรับดึงข่าวจาก … และโพสต์ไปที่เว็บไซต์”
    พอได้โค้ดมาลองใช้ในไม่กี่วินาที แก้ไขปรับนิดหน่อย ใช้งานได้ทันที! งานที่เคยต้องใช้ครึ่งค่อนวันถูกย่นเวลาให้เหลือแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น Cool เกิ๊น..
  • หรือเวลาผมต้องเขียนบล็อกเพื่ออัปเดตสิ่งที่เรียนพึ่งจบมา จากที่เคยกินเวลาไปทั้งชั่วโมงหรือทั้งวัน ตอนนี้ AI ช่วยจัดการให้เรียบร้อย แค่ใส่หัวข้อที่ต้องการ หรือร่างไอเดียของผมแล้วโยนให้มันช่วยขยายความต่อ มันก็สามารถเข้าใจได้ จะเทพไปไหน

⏩ สรุปง่ายๆ เลยมันคือ “ตัวเราคนเดิม แต่เร็วกว่า ฉลาดกว่า และละเอียดกว่าในแบบที่เราไม่ต้องเปลืองเวลา!”


🎥 AI กับการบริหารเวลา: สรุป 4 ชั่วโมงให้เหลือแค่ 4 นาที

จากที่เมื่อก่อน ต้องเสียเวลาฟังวิดีโอสัมมนายาวๆ บน YouTube หลายชั่วโมงเพื่อตามหาประเด็นสำคัญ หรือจำใจดูรวดเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ ทุกวันนี้ AI เข้ามาช่วยสรุปคลิปหลายชั่วโมงให้กลายเป็นข้อมูลสำคัญในเวลาสั้นๆ และเป็นหัวข้อที่เข้าใจง่ายสุดๆ เช่น

  • อธิบาย Performance Test , เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง K6 กับ Jmeter
  • ดูรีวิวเทรนด์เกี่ยวกับงาน QA

ผมแค่เอาลิงก์ให้ AI ช่วยสรุปเนื้อหาหลักๆ พร้อมใส่ความคิดสำคัญๆลงไป คราวนี้ไม่ต้องเลื่อนหาเนื้อหาด้วยตัวเองเลย เอากับมันสิ!


📚 ความรู้คือพลัง และ AI คือแหล่งย่อโลกการเรียนรู้
เมื่อก่อนเวลาผมเจออะไรใหม่ อยากศึกษาเรื่องยากๆ อย่าง DevOps ,Kubernetes หรือภาษา Programming ใหม่ๆ ผมต้องใช้เวลาอ่านหนังสือ 3-4 เล่ม เข้า Coursera , Udemy หรือคุ้ยข้อมูลใน Google ทีละหลายชั่วโมง แต่ทุกวันนี้ AI ช่วยให้ผม “เข้าใจสิ่งที่ซับซ้อนได้ในเวลาอันสั้น”

  • สรุปหนังสือธุรกิจภายในไม่กี่บรรทัด
  • อธิบายคอนเซปต์ยากๆ ให้เข้าใจเหมือนเพื่อนมาเล่าให้ฟัง

นี่แหละครับ เหมือนมีโค้ชและห้องสมุดเคลื่อนที่อยู่ในมือ ผมเลยมั่นใจว่าผมไม่หยุดอยู่แค่สิ่งที่ผมทำในทุกวันนี้แน่นอน

จำได้อยู่ตอนนึง เคยทะเลาะกันกับน้องในที่ทำงานที่หาว่าผมทำงาน แล้วทำไมจำงานบางอย่างไม่ได้ ตอนนั้นผมตอบไปว่า “ถึงแม้จะจำไม่ได้ แต่ผมรู้ว่าจะหาคำตอบได้อย่างไร” พอมาวันนี้มี AI เข้ามา ผมคิดว่า สิ่งที่ผมทำตอนนั้นมันถูกแล้ว คือผมไม่ต้องจำทั้งหมดก็ได้ ขอแค่รู้ว่าหาคำตอบได้ที่ไหน และเข้าใจในคำตอบที่ได้มาก็พอ


ความฝันที่เคยใหญ่เกินไป ตอนนี้อยู่ใกล้แค่เอื้อม… 🚀
เมื่อก่อนผมยังคิดว่าหลายๆ โปรเจกต์ที่อยากเริ่ม มันดูซับซ้อนเกิน จนต้องพับเก็บไว้ก่อน แต่ตอนนี้พอมี AI เป็น “ที่ปรึกษาหลัก” ผมเริ่มเชื่อว่า ผมสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่คิด เช่น:
สร้างระบบอัตโนมัติสำหรับธุรกิจ:** ใช้ AI ช่วยเขียนโค้ด หรือร่างต้นแบบ Tool ที่ช่วยงาน
ทำ Blog หรือ Platform ความรู้ขนาดใหญ่:** ใช้ AI จัดการเรื่อง Content ให้เรียบร้อย
พัฒนาแอป หรือสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของตัวเอง:**ใช้ AI ทำให้การพัฒนาแอปซับซ้อนน้อยลง หรือแม้แต่ฝันว่าจะ Push Code ขึ้น GIT ทุกวัน : อันนี้อาจไม่มีเหตุผลหรือเกี่ยวข้องกับ AI นะ แต่ที่รู้คือตอนนี้ ชอบที่ GIT มันเขียวเวลาเรา Push Code ไปที่ GIT แต่ละวัน!? 555+

จากสิ่งที่เคยกลัวว่าจะยากหรือทำไม่ไหว กลายเป็นแผนที่ผมมั่นใจว่าทำสำเร็จได้แน่นอน

ตอนนี้เริ่มเชื่อแล้วว่าการมี AI ในชีวิต ไม่ได้แค่ทำให้ชีวิตง่าย แต่มันเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้เราก้าวหน้าได้เร็วขึ้นหลายเท่าด้วย


💡 สรุป… AI ไม่ใช่แค่ “เครื่องมือ” แต่มันคือ “เพื่อนร่วมทีมที่พกเอาเข็มทิศมาด้วย” ที่ช่วยทำให้ผมมองโลกในมุมใหม่ มองไปทางไหนก็เห็นแต่โอกาส

ใครที่ยังลังเล แนะนำให้ลองเปิดใจดู แค่เริ่มต้นด้วย AI ที่ช่วยงานง่ายๆ คุณอาจค้นพบว่าตัวเองมีเวลาและโอกาสสร้างฝันที่ใหญ่กว่านี้ได้

ปล. อย่าลืมนะครับ AI เป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่ผู้ตัดสินทุกเรื่อง สุดท้าย ชีวิตของเรายังเป็นบทบาทของเราเอง …แต่จะดีกว่าถ้ามี AI เป็นผู้ช่วยเก่งๆ ที่คอย support เราอยู่ข้างๆ 😊

CategoriesAI Tools for EveryoneToday..what i learn

ปลดล็อกพลังของ AI: Prompt เด็ดๆ สำหรับพนักงาน QA ที่ต้องรู้

ผมเชื่อว่าใครที่ทำงานในสาย QA (Quality Assurance) คงจะเข้าใจดีว่าหน้าที่ของเรานั้นสำคัญแค่ไหน การทำให้ซอฟต์แวร์หรือผลิตภัณฑ์ในมือเรามีคุณภาพและใช้งานได้จริงโดยไม่มีปัญหา เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์ การใส่ใจในรายละเอียด รวมไปถึงการวางแผนที่รอบคอบ

แต่รู้ไหมครับว่า AI ก็สามารถเป็นผู้ช่วยที่ดีสำหรับงาน QA ได้เหมือนกัน? ที่สำคัญเลยคือ “การตั้ง Prompt” หรือคำสั่งที่ชัดเจนให้ AI ช่วยจัดการงานต่างๆ ของเราได้รวดเร็วขึ้น ประหยัดเวลา และลดความเจ็บปวดจากงานซ้ำๆ ได้ไม่น้อย

วันนี้ผมเลยอยากมาแบ่งปัน Prompt ที่ผมใช้จริงและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในสาย QA จะมือใหม่หรือทำงานมาแล้วหลายปี ก็ลองเอาไปใช้ดูได้เลยครับ


1. ร่าง Test Case และ Test Plan ง่ายๆ ไม่ต้องปวดหัว

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยร่าง Test Case สำหรับ [ระบุฟีเจอร์ เช่น ระบบสมัครสมาชิก] โดยครอบคลุม Positive และ Negative Test Cases”
    • “จัดโครงสร้าง Test Plan สำหรับระบบ [ระบุซอฟต์แวร์/ระบบ] โดยระบุขอบเขต เครื่องมือที่ใช้ และวิธีการทดสอบ”

👉 เหตุผลที่ต้องใช้:
บอกเลยว่าเวลาผมต้องนั่งไล่เขียน Test Case ทีมักจะกินเวลาไปเยอะมาก Prompt แบบนี้ช่วยให้ AI ช่วยคิดในมุมที่เราอาจพลาดไปรวมถึงเรื่องที่ควรใส่ในแผน เรียกว่าทำให้เราไม่พลาดจุดสำคัญครับ


2. เขียนบั๊กให้ตรงประเด็น ทีม Dev อ่านเข้าใจง่าย

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยเขียน Bug Report สำหรับปัญหา [ระบุปัญหา เช่น แอปโหลดหน้าโปรไฟล์ไม่ได้] โดยให้มีหัวข้อ เช่น Summary, Steps to Reproduce, Expected Result, Actual Result”
    • “เขียนคำอธิบายบั๊กแบบอ่านง่ายสำหรับการส่งต่อให้ Developer”

👉 ประโยชน์ที่ได้รับ:
หลายครั้งการอธิบายปัญหาที่เราพบให้ทีม Dev เข้าใจได้ตรงจุด ไม่เยิ่นเย้อ หรือไม่ตกหล่นเป็นสิ่งสำคัญ Prompt แบบนี้ช่วยให้เราทำงานง่ายและประหยัดเวลาในการเขียนรายงานไปเยอะ


3. ตรวจสอบระบบเชิงลึกแบบเป็นขั้นเป็นตอน

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยสร้าง Checklist สำหรับการตรวจสอบ API”
    • “แนะนำวิธีการทดสอบ Performance ของระบบ โดยระบุเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น JMeter”

👉 ทำไมถึงต้องใช้ Prompt นี้:
เวลาตรวจสอบระบบใหญ่ๆ มันมักจะมีจุดเล็กๆ ที่เราอาจลืมไป Prompt แบบนี้ช่วยให้เรามีรายการตรวจสอบที่ชัดเจน และไม่พลาดจุดสำคัญที่ควรเช็ก


4. Automation Testing – ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มความฉลาด

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยแนะนำโครงสร้างของ Automation Test Scripts สำหรับ [ระบุฟีเจอร์ เช่น ระบบจองตั๋ว]”
    • “แนะนำเครื่องมือ Automate Testing ที่เหมาะสมสำหรับการทดสอบเว็บแอปพลิเคชัน”

👉 ประโยชน์:
งาน QA ไม่ได้หยุดแค่การเทสแบบ Manual นะครับ การ Automate จะช่วยลดเวลาที่เสียไปกับการทดสอบเดิมๆ และ AI จะช่วยให้การเริ่มต้น Automate Test นั้นง่ายกว่าที่เคย


5. ทำเอกสารให้ชัดเจน ทีมรัก QA ก็รัก

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยเขียน Test Summary Report สำหรับระบบ [ระบุระบบ] โดยมีทั้ง Test Cases, จำนวนผ่าน/ไม่ผ่าน และคำแนะนำเพิ่มเติม”
    • “ช่วยสร้าง Quality Checklist ก่อนส่งมอบระบบให้ลูกค้า”

👉 ทำไมถึงควรใช้:
ตอนที่ผมต้องทำรายงานส่งหัวหน้าหรือทีมอื่นๆ Prompt นี้ช่วยสร้างเอกสารอย่างมีระเบียบและดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น ทีมที่อ่านรายงานของเราจะเข้าใจข้อมูลที่สรุปได้ครบถ้วน


6. ตรวจความปลอดภัยให้แน่นหนา ไม่มีช่องโหว่

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “แนะ Test Cases สำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ Login”
    • “ช่วยอธิบายขั้นตอนการทดสอบการโจมตี SQL Injection พร้อมแนวทางป้องกัน”

👉 ทำไมเรื่องนี้สำคัญ:
ทุกวันนี้ความปลอดภัยคือสิ่งที่ถูกจับตามองมาก ถ้าระบบเรามีช่องโหว่ ก็อาจส่งผลเสียมหาศาล Prompt เหล่านี้ช่วยให้เรามั่นใจว่าได้ตรวจสอบในจุดที่สำคัญ


7. วิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำงานร่วมกับทีมแบบมืออาชีพ

  • ตัวอย่าง Prompt:
    • “ช่วยรวบรวมปัญหาที่ QA มักพบเจอบ่อย พร้อมลำดับความสำคัญของการแก้ไข”
    • “แนะนำวิธีการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่าง QA และ Dev ในการทำงานร่วมกัน”

👉 ทำไมควรลองใช้:
สิ่งสำคัญที่สุดนอกจากงานคือการทำงานเป็นทีม Prompt เหล่านี้จะช่วยให้เราทำความเข้าใจกับปัญหา และเปิดโอกาสให้เราแก้ไขได้อย่างเฉียบขาดร่วมกับทีม


เคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับการตั้ง Prompt:

  1. ใส่ Context ให้ชัดเจน เช่น ระบบที่ใช้งาน สิ่งที่ต้องการ หรือปัญหาที่พบ
  2. ตั้งคำถามแบบเจาะจง เพื่อให้ AI เข้าใจสิ่งที่คุณต้องการอย่างตรงจุด
  3. ทดลองปรับคำสั่ง หากครั้งแรกยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ถูกใจ

สุดท้ายแล้ว อย่ากลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ ดูครับ เพราะการดึงเอาศักยภาพของ AI มาใช้ได้เต็มที่ จะช่วยให้การทำงานในสาย QA ของพวกเรายิ่งง่าย มีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น


สรุปสั้นๆ: AI และ Prompt ดีๆ คือคู่หูมือโปรของ QA ใช้งานได้ง่าย ช่วยประหยัดเวลา และเพิ่มความเฟี้ยวให้กับงานไวขึ้น ใครที่อยู่ในสายนี้ ลองนำไปใช้ปรับให้เข้ากับงานของตัวเอง แล้วบอกผมหน่อยนะครับว่า ใช้แล้วได้ผลยังไง 🙂

CategoriesLife Notes

ความเคลื่อนไหวล่าสุดในวงการ QA: เทรนด์ สถิติ และอนาคตในปี 2024

ความเคลื่อนไหวล่าสุดในวงการ QA: เทรนด์ สถิติ และอนาคตในปี 2024

ปี 2024: จุดเปลี่ยนสำคัญของวงการ QA!
โลกของ Quality Assurance (QA) กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว เมื่อเทคโนโลยีอย่าง AI, Machine Learning และ Autonomous Testing เข้ามามีบทบาท ส่งผลให้แนวคิดการทำงานแบบเดิมๆ ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปสำรวจเทรนด์ใหม่ๆ สถิติที่น่าสนใจ และมองหาอนาคตของ QA ในปีนี้


🔍 5 เทรนด์สำคัญที่ต้องจับตาในปี 2024

1. AI และ Machine Learning ใน QA

AI ไม่เพียงแต่ช่วยลดเวลาในการทดสอบ แต่ยังสร้าง Test Cases อัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และตรวจหา Bug ด้วยความแม่นยำสูง นี่เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของซอฟต์แวร์ในแบบเรียลไทม์

ตัวอย่างการใช้งาน:

  • การทำนายปัญหา Bug ที่อาจเกิดขึ้นก่อนการพัฒนา
  • การตรวจสอบโค้ดระหว่างใช้งานได้ทันที

2. Shift-Left Testing

แนวคิดนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยนำ QA เข้าไปร่วมตั้งแต่ต้นของวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDLC)
ผลลัพธ์คือ การลดต้นทุนเวลา และค้นหาข้อผิดพลาดได้รวดเร็วกว่าเดิม

3. Cybersecurity Testing: ความปลอดภัยมาก่อน

ในยุคที่ข้อมูลคือ “ทรัพย์สินสำคัญ” การทดสอบ Cybersecurity กลายเป็นภารกิจสำคัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การเงินและการแพทย์

4. Autonomous Testing: QA อิสระด้วย AI

ระบบ Autonomous Testing ช่วยทดสอบและจัดการ Test Cases ได้แบบอัตโนมัติ ลดความซับซ้อนและเพิ่มความเร็วในกระบวนการได้อย่างน่าทึ่ง

5. การทดสอบ IoT และ Cross-Browser บน Cloud

การทดสอบ IoT Automation Testing เป็นสิ่งที่ห้ามละเลย เมื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
การทำ Cloud-based Cross-Browser Testing จะช่วยลดข้อจำกัดในการทดสอบบนอุปกรณ์และเบราว์เซอร์ต่างๆ


📊 สถิติเด่นที่สะท้อนวงการ QA ในปี 2024

  • 48% ขององค์กรระบุว่า “เวลาในการทดสอบ” เป็นปัญหาหลักในการพัฒนาคุณภาพซอฟต์แวร์
  • 47% ของบริษัทมีเป้าหมายที่่จะใช้ AI กับงาน QA ภายในปีถัดไป
  • 32% ของทีม QA ใช้ Test Automation อย่างเต็มรูปแบบ และมีแนวโน้มเติบโตอีก 20% ในปีนี้
  • 38% ของปัญหาด้านคุณภาพ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดที่บ่อยครั้ง
  • สหรัฐอเมริกาและยุโรป ลงทุนใน GDPR Compliance Testing และ Cybersecurity Testing สูงสุด

🚀 อนาคตของ QA: เทรนด์ที่จะครองปีถัดไป

1. QAOps: รวม QA และ DevOps เข้าด้วยกัน

การบูรณาการ QA เข้ากับ DevOps จะกลายเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้น QAOps ช่วยให้ทีมสามารถตรวจสอบซอฟต์แวร์และปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง

2. Scriptless Automation

การใช้เครื่องมือ Scriptless Automation ช่วยลดการเขียนโค้ดที่ซับซ้อน ให้ทีม QA ทำงานได้ง่ายและสะดวกกว่าเดิม

3. Sustainability QA

องค์กรจะมุ่งเน้นกระบวนการ QA ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การใช้ Cloud Tools หรือ Testing Tools แบบโอเพ่นซอร์ส เพื่อช่วยลดผลกระทบที่มีต่อโลก


💡 บทสรุป: QA ในจุดเปลี่ยนแห่งยุคดิจิทัล

ปี 2024 เป็นปีที่วงการ QA ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, ML และ Shift-Left Testing จะช่วยยกระดับกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่ Cybersecurity และ IoT Testing ยังคงมีบทบาทสำคัญ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่QAควรให้ความสำคัญ คือการพัฒนาทักษะ ปรับตัว และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการในปัจจุบันและอนาคต

“เพราะอนาคตของ QA ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ AI แต่มาจากการทำงานร่วมกันของมนุษย์และเทคโนโลยี”


📌 ติดตามบทความและเทรนด์ QA ล่าสุดได้ที่นี่!
#QA2024 #AIinQA #ShiftLeftTesting #FutureTrends

CategoriesAI Tools for Everyone

🔥 ใช้ชีวิตให้สมดุลในวัย 39 : AI ผู้ช่วยตัวท็อป เพิ่มเวลาให้ชีวิตง่ายขึ้น

ผมเข้าใจดีครับว่าเมื่ออายุมาถึงเลข 3 ปลายๆ แบบนี้ เราต้องจัดสรรเวลาให้ลงตัว ทั้งเรื่องงาน ครอบครัว และการพัฒนาตัวเอง ไหนจะเรื่องสุขภาพอีก มันไม่ง่ายเลย แต่ถ้ารู้จักใช้ตัวช่วยอย่าง AI ชีวิตคุณจะง่ายขึ้น เหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวที่ทำได้แทบทุกอย่าง

มาดูกันครับว่า AI จะช่วยชีวิตวัย 39 แบบเราได้ยังไงบ้าง!


💼 เรื่องงาน (เพราะเราต้องรอดในตลาดนี้)
ทุกเช้าผมเริ่มต้นด้วย “เฮ้ AI ช่วยผมที…” แล้วต่อด้วยคำสั่งตรงประเด็น เช่น…

  • “ช่วยสรุปประชุม 2 ชั่วโมงให้เหลือ 5 นาที เน้นจับประเด็นสำคัญ”
  • “ช่วยเขียนอีเมลตอบลูกค้าที่เร่งงาน แต่ยังรักษาความสัมพันธ์ที่ดี”
  • “วิเคราะห์รายงานยอดขาย พร้อมไอเดียปรับกลยุทธ์แบบเข้าใจง่าย”

⏱️ ประหยัดเวลา: ลองจินตนาการดูครับว่าคุณไม่ต้องเสียเวลาเขียนอีเมลยาวเหยียดหรือไล่ฟังเทปประชุม ทำให้มีเวลาไปโฟกัสงานใหญ่ๆ ได้มากขึ้น


🏃‍♂️ เรื่องสุขภาพ (เพราะไม่อยากเจ็บป่วยในวัยเริ่มกลางคน)
ในวัยนี้ สุขภาพสำคัญที่สุดครับ แต่เวลาก็เหลือน้อย AI ช่วยจัดระบบให้ดูแลตัวเองได้ง่ายขึ้น:

  • “สร้างตารางออกกำลังกาย 30 นาที สำหรับคนที่นั่งโต๊ะทำงานทั้งวัน”
  • “ช่วยคิดเมนูอาหารคลีน ทำง่าย ไม่ต้องเป็นเชฟ”
  • “ให้คำแนะนำจัดการความเครียดจากงาน แบบไม่ต้องพึ่งกาแฟหรือเหล้า”

🔥 เปลี่ยนกรอบคิด: ถึงจะยุ่ง เราก็ยังหาเวลาให้ตัวเองได้ครับ AI จะช่วยลดความยุ่งยาก เช่น คิดแผนออกกำลังกายให้ตรงเป้าหมาย เมื่อสุขภาพดี ครอบครัวและงานก็จะไปได้ดีแน่นอน


💰 การเงินและการลงทุน (เพราะอนาคตยังอีกยาว)
สำหรับคนที่กำลังวางแผนการเงิน AI จะเป็นเหมือนที่ปรึกษาส่วนตัวที่ไม่คิดค่าคอนซัลต์:

  • “ช่วยวางแผนการเงิน 5 ปี สำหรับคนมีภาระผ่อนบ้านและลูกเล็ก”
  • “วิเคราะห์การลงทุนกับหุ้น หรือ Passive Income ถ้ามีทุนตั้งต้น 5 แสน”
  • “เสนอเทคนิคประหยัดเงินแบบไม่ประหยัดชีวิต”

💡 วางแผนเป็นเรื่องง่าย: AI ทำให้ตัวเลขยากๆ กลายเป็นข้อมูลที่เข้าใจง่าย และช่วยให้คุณเห็นภาพอนาคตทางการเงินที่ชัดเจนมากขึ้น


👨‍👩‍👧‍👦 ครอบครัว (เพราะสำคัญที่สุดในชีวิต)
เมื่อต้องแบ่งเวลากับครอบครัว AI ช่วยเป็น “ผู้จัดการเวลาให้” เช่น:

  • “หาไอเดียกิจกรรมวันหยุดที่ทำได้ทั้งครอบครัว งบไม่เกิน 2,000”
  • “ช่วยวางแผนทริปครอบครัวที่ใช้เวลาเดินทางน้อย แต่ทุกคนสนุก”
  • “แนะนำวิธีพูดคุยกับลูกวัยรุ่นให้เข้าใจกันมากขึ้น”

❤️ สิ่งที่สำคัญ: ทุกวินาทีที่ได้ใช้กับครอบครัวมีค่า AI ลดเวลาในงานหรือเรื่องหนักๆ เพื่อเพิ่มเวลาให้คุณใช้กับคนที่คุณรัก


🎯 พัฒนาตัวเอง (เพราะต้องไม่หยุดอยู่กับที่)
หลายครั้งเราอาจรู้สึกว่าวันๆ หมดไปกับงาน ชีวิตในวัยนี้มีเวลาเรียนน้อยลง แต่ AI ช่วยได้:

  • “ช่วยอธิบายพื้นฐานด้าน Digital Marketing สำหรับมือใหม่”
  • “สรุปหนังสือเล่มดังอย่าง Atomic Habits ให้เข้าใจใน 5 นาที”
  • “เรียนรู้เทรนด์ใหม่ เช่น Blockchain, Crypto, หรือ AI แบบเข้าใจง่าย”

📈 เติบโตต่อไป: AI ช่วยให้คุณตามทันเทรนด์ใหม่ๆ โดยไม่ต้องเสียเวลามาก แค่วันละ 10-15 นาทีก็เพียงพอแล้ว


💪 เทคนิคใช้ AI ให้คุ้มจนเหมือนผู้ช่วยส่วนตัว:

  1. ถามให้ตรงประเด็น: เช่น ไม่ต้องอ้อมค้อม อยากได้อะไรให้บอกไปตรงๆ
  2. ระบุเงื่อนไขชัดเจน: เช่น งบประมาณ เวลา ข้อจำกัด เพื่อให้ AI เข้าใจเป้าหมาย
  3. ขอคำอธิบาย Step by Step: เหมือนเราสั่งงานทีละขั้น
  4. ไม่เข้าใจก็ถามใหม่: AI ไม่เคยเบื่อครับ ลองปรับคำถามจนได้คำตอบที่ใช่

ตัวอย่าง:
“ช่วยวางตารางออกกำลังกายให้ผมมีเวลาเล่นกับลูกทุกเย็น” นี่คือคำถามตรงประเด็นที่ AI จะช่วยออกแบบให้คุณได้อย่างสมดุล


ปล. อย่าลืมนะครับ AI คือเครื่องมือ ไม่ใช่ผู้ตัดสินใจแทนคุณ ชีวิตของคุณ คุณเลือกเองได้เสมอ ใช้มันเพื่อเพิ่มเวลา ทำงานให้ดีขึ้น ใช้เวลาชีวิตให้คุ้มค่าขึ้น แต่บางสิ่งเช่น “การยกเวท” หรือ “หรือการออกไปใช้ชีวิตกับครอบครัว” AI ที่เก่งแค่ไหน ก็ช่วยพวกเราไม่ได้ 😉

สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ หาเวลาออกกำลังกายบ้างนะครับ อย่าเอาแต่พึ่ง AI จนลืมดูแลตัวเอง 👍

#LifeAt39 #AIช่วยชีวิต #WorkLifeBalance #ให้AIช่วยก็ยังเป็นผู้นำชีวิตตัวเอง